วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคการทำ--->GAT

ผมเรียนที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรีอ่ะครับ ผมชื่อฟ้านะ อยู่ ห้อง 6/15 รุ่น 110 คือผมได้เห็นเพื่อนผมคนนึง( สมมุติว่าชื่อ หนึ่ง )มันไม่เข้าใจข้อสอบอ่านคิดวิเคราะห์มันจึงไปข้อร้องให้เพื่อนผมอีกคนนึง( สมมุติว่าชื่อ สอง )ช่วยอธิบายให้ เพราะสองเนี่ยมันได้อ่านคิดวิเคราะห์เยอะก็เห็นมันคุยจังเลยว่ามันเก่ง( ชิ!!หมั่นไส้ -*- ) แต่สองมันไม่ยอมสอนหนึ่ง มันบอกว่า "กุไม่สอนหรอก เด๋วมาแย่งกุเข้าจุฬา มืงเก่งอังกิดกว่ากุ กุไม่สอนหรอก" ผมอยู่ในเหตุการณ์ ผมโมโหมากๆๆ อยากจะกระทืบเจงๆ ถ้ามันไม่เป็นผู้หญิงกุตบคว่ำและ ผมเลยอาสาสอนให้หนึ่งเอง ผมก็ไม่ได้เก่งเท่าไหร่หรอก สอบGAT 3ช.ม. ผมอ่านวิธีทำ โจทย์อ่านคิดวิเคราะห์อยู่ครึ่งชั่วโมงกว่า แล้วในใจคิดว่า "โจทย์ไรวะเนี่ย เกิดมาไม่เคยเจอะเจอ ทำผิดติดลบอีก จะเอาคะแนนมาจากไหนล่ะนี่ โถ!! ชีวิต " ต่อมาผมก็ติดตามข่าวก็ทราบว่า มีคนได้อ่านคิดวิเคราะห์กันน้อยมาก เพราะตอบผิดช่องไม่ได้เรียงคำตอบจากเลขน้อยไปหาเลขมาก ทำไม่เป็น ต่างๆนาๆ ผมจึงคิดว่า อยากให้เพื่อนๆในรุ่น คนพันธุ์ แอสมิสชั่น -*- ปี53 ทำอ่านคิดวิเคราะห์กันได้เยอะๆ นั่นแน๊ะ คงจะคิดในใจว่า ตานี่ ได้คะแนนเท่าไหร่กันเชียว ทำเป็นจะมาสอน หรือไม่ก็คงจะเทพ ป่าวหรอก ผมได้ อ่านคิดฯ 135 เต็ม150 เท่านั้นเอง ฟลุ๊คมั๊ง -*- มาๆ มาลองดูวิธีคิดในแบบของผมกัน เผื่อเพื่อนๆ จะนำไปปรับใช้ได้ยังไงก็มันแสดงความคิดเห็นแบ่งกันมั่งเน้อ นอกเรื่องมามากพอ เริ่มกันเล๊ยยย _______________________________________________________________________โจทย์จะหนดคำสั่งอย่างนี้มาเสมอนะครับคำสั่ง อ่านบทความที่กำหนดให้ ( ในบทความมีข้อความที่พิมพ์ด้วยอักษรตัวเข้ม ) แล้วสรุปความเชื่อมโยงข้อความที่กำหลดแต่ละข้อความที่เหลือให้สอดคล้องกับเนื้อหาในบทความ และเป็นไปตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1.ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น ( ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ ) ที่ เป็นผลโดยตรง หรือ เกิดขึ้นในเวลาต่อมา ให้เติมตัวเลขประจำของข้อความอื่นที่สัมพันธ์และตามด้วย A 2.ถ้าข้อความที่กำหนดมีข้อความอื่น ( ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ )เป็นส่วนประกอบ / องค์ประกอบ / ความหมาย ให้เติมตัวเลขประจำของข้อความอื่นที่สัมพันธ์และตามด้วย D 3.ถ้าข้อความที่กำหนดส่งผลทำให้ข้อความอื่น (ซึ่งอาจมีได้หลายข้อความ ) ถูกลด/ยับยั้ง/ป้องกัน/ห้าม/ขัดขวาง/บั่นทอน ให้เติมตัวเลขประจำของข้อความอื่นที่สัมพันธ์และตามด้วย F 4.ถ้าข้อความที่กำหนด ไม่มีข้อความอื่นที่เป็นผลโดวยตรง หรือเกิดขึ้นในเวลาต่อมา ไม่มีข้อความใดมาเป็นส่วนประกอบ องค์ประกอบ ความหมาย สมาชิก ยับยั้ง ห้าม ขัดขวาง ดังกล่าวข้างต้น ให้เติม 99H จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆในภาษาของผมนะครับ----------------------ทำความเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับคำสั่งข้อที่1--------------------- คำสั่งข้อที่1 เนี่ยนะครับ หมายความว่า ถ้าข้อความที่กำหนดให้นั้น ได้เป็นเหตผลทำให้โดยตรง ทำให้เกิดอะไรขึ้นตามมาในเวลาต่อมา ได้เป็นเหตุให้เกิดผล พูดง่ายๆ ไป ทำไร ให้ใครบางคนเป็นไรอย่างเงี๊ยะ หรือ ไปทำอย่างนั้นมา แล้วผู้หญิงก็ท้องในเวลาต่อมาว่างั้นก็ได้ (ลามกอีกแล้ว -*-) ยกตัวอย่าง Ex.1 บทความว่า นายดำ (1)ขี้เกียจอ่านหนังสือ นายดำจึง (2)เอนท์ไม่ติด คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 ขี้เกียจอ่านหนังสือ 02A 2 เอนท์ไม่ติด 99H เหตุที่ข้อ 1 ตอบ 02A เพราะว่า ข้อความที่ 1 เป็นเหตุให้เกิด ข้อความที่ 2 ซึ่งเป็นผลในเวลาต่อมานั่นเองครับ เหตุที่ข้อ 2 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่ 2 ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดผลอะไรตามมา ข้อความที่2 เป็นเพียงแค่ผลอันสิ้นสุดของบทความนี้แล้ว ------------------ทำความเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับคำสั่งข้อที่2----------------------- คำสั่งข้อที่2 เนี่ยเค้าหมายความว่า ถ้าข้อความความที่กำหนดให้นั้น มีข้อความอื่นมาเป็นองค์ประกอบ ส่วนประกอบ สมาชิก ของข้อความที่กำหนดให้ หรือ มีข้อความอื่นมาเป็น ความหมาย ของข้อความที่กำหนดให้ หรือข้อความที่กำหนดให้เป็นเซตที่มีสมาชิกอยู่ พูดง่ายๆคือ "แม่"มีลูก2คนชื่อ "กอล์ฟ ก่ะ ไมค์" หรือ ความหมายของ Bird ก็คือ นก ไรงี้อ่ะครับ ยกตัวอย่าง Ex.2 บทความว่า ใน (1)สวนสัตว์ มี (2)หมีแพนด้า (3)หมู (4)ลิง คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 "สวนสัตว์" 02D 03D 04D {ถ้ามีคำตอบมากกว่า1ให้เรียงเลขจากน้อยไปหามาก} 2 "หมีแพนด้า" 99H 3 "หมู" 99H 4 "ลิง" 99H เหตุที่ข้อ1 ตอบ 02D 03D 04D เพราะว่า ข้อความที่1 มี ข้อความที่2,ข้อความที่3,ข้อความที่4 มาเป็นองค์ประกอบ,สมาชิก,ส่วนประกอบให้ข้อความที่กำหนดให้ เหตุที่ข้อ 2,3,4 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่2,3,4 เหล่านี้ " ไม่ได้ " มี ข้อความใดมาเป็นสมาชิก,องค์ประกอบให้ ข้อความเหล่านี้เป็นเพียงสมาชิก หรือตัวลูก เป็นแค่ข้อย่อยสุด เป็นแค่สมาชิกของเซต มิได้เป็นหัวข้อใหญ่ นั่นเอง---------------------ทำความเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับคำสั่งข้อที่3------------------------คราวนี้ในคำสั่งข้อที่ 3 นะครับหมายความว่า ข้อความที่กำหนดให้เนี่ย เป็นผู้กระทำ หรือส่งผลให้ "ยับยั้ง,บั่นทอน,ป้องกัน,ขัดขวาง ต่อข้อความอื่น อย่างเช่น " เขื่อน ป้องกัน น้ำท่วม " ไรงี้นะครับ ยกตัวอย่าง Ex.3 บทความว่า (1)การสูบบุหรี่ บั่นทอน (2)สุขภาพร่างกาย ทำให้ตายไวนะจ๊ะ คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 การสูบบุหรี่ 02F 2 สุขภาพร่างกาย 99H เหตุที่ข้อ1 ตอบ 02F เพราะว่า ข้อความที่ 1 ได้เป็นผู้กระทำหรือส่งผลให้เกิดการ ยับยั้ง / ห้าม / บั่นทอน / ขัดขวาง ต่อ ข้อความที่ 2 สังเกตุจากคำว่า "บั่นทอน" เหตุที่ข้อ2 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที่2 ไม่ได้ กระหรือส่งผลให้เกิดการ ยับยั้ง บั่นทอน ขัดขวาง ข้อความใดๆ หรือ เป็นข้อความหรือเหตุการณ์สุดท้าย-----------------ทำความเข้าใจง่ายๆเกี่ยวกับคำสั่งข้อที่4----------------------- ในสั่งข้อที่4 นี้นะครับ มีลักษณะ ต่างจากค่ำสั่งข้ออื่นๆที่ผ่านมา คือ ข้อความที่กำหนดให้ไม่ได้เป็นเหตุ อาจเป็นแค่ผลก็ได้ ไม่ได้เป็นหัวข้อใหญ่ อาจเป็นหัวข้อย่อยสุดก็ได้หรือเป็นแค่องค์ประกอบของข้อความอื่นก็ได้ เป็นเหตุการณ์สุดท้าย ไม่ได้ไป ยับยั้ง ขัดขวาง ห้าม หรือบั่นทอน ข้อความใดๆ ** สังเกตุง่ายๆจากตัวอย่าง 1,2,3 ที่ตอบ 99H *** ยกตัวอย่าง Ex.4 บทความว่า (1)นายดำและนายแดง เป็นสมาชิก (2)ห้อง15 คำตอบ ข้อ ข้อความที่กำหนด รหัสคำตอบ 1 นายดำและนายแดง 99H 2 ห้อง15 01D เหตุที่ข้อ1 ตอบ 99H เพราะว่า ข้อความที 1 ไม่ได้เป็นหัวข้อใหญ่หรือเซตแต่เป็นเพียงหัวข้อย่อยสุดหรือสมาชิกในเซต (ไม่เข้าใจดูข้อ2) ไม่ได้ไปยับยั้ง ขัดขวางข้อความใด ไม่ได้เป็นเหต ให้ข้อความอื่นใดมากเป็นผล เป็นข้อความหรือเหตุการณ์สุดท้าย เหตุที่ข้อ2 ตอบ 01D เพราะว่า นายดำและนายแดงเป็นสมาชิกในห้อง15อ๊ะ ****ข้อควรจำ***1. เวลาอ่านบทความเสร็จต้องเชื่อบทความ ถ้าบทความบอกว่าคนบินได้ก็ต้องเชื่อครับ อย่ายึดหลักความจริงนี่ไม่ใช่วิชาคณิตศาสตร์2. จะใส่ตัวอักษรA,D,F ให้สังเกตุคำ ด้วย เช่น บั่นทอน ต่อมาได้เกิด ทำให้ ป้องกัน ขัดขวาง ประกอบด้วย ฯลฯ เน้น*** ต้องสังเกตุคำ3. -?. xxA ต้องเอาเลขประจำข้อความที่เป็นผลมา ตอบในข้อของ ข้อความที่ข้อเหตุ -?. xxD ต้องเอาเลขของข้อความที่เป็นองค์ประกอบ/สมาชิก/ตัวลูก มาตอบในข้อของ ข้อความที่เป็นตัวแม่/หัวข้อหลัก -?. xxF ต้องเอาเลขของข้อความที่เป็นข้อความที่ถูกกระทำ มาตอบในข้อของ ข้อความที่เป็นผู้กระทำ ผู้ยับยั้ง บั่นทอน4. ข้อสอบที่เป็นบทความยาวๆ มักจะมีข้อความที่กำหนดให้ซ้ำอยู่หลายตำแหน่ง แต่โจทย์จะเน้นเป็นตัวหนาให้เพียงตำแหน่งแรกครั้งเดี่ยว สังเกตุดีๆอย่าอ่านข้าม5. กรณีที่บางข้อมีคำตอบมากกว่าหนึ่งคำตอบให้เรียงจาก เลขน้อยไปหามาก เช่น 02A 04D 05F6.โจทย์จริงจะไม่มีเลขหน้าข้อความที่กำหนดในบทความให้นะครับอันนั้นผมติ๊กไว้ให้เพื่อความชัดเจน เวลาทำจริงๆต้องดูเลขข้อจากตารางแล้วไปติ๊กในโจทย์เอาเอง ส่วนมากโจทย์จะเรียงเลขตั้งแต่1เป็นต้นไปให้ แต่ถ้าเจอโจทย์แบบยาวๆแล้วยังใจร้ายไม่เรียงเลขจาก1ให้ อย่างโจทย์ที่ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆให้ในข้อข้างล่างครับ-------------------------------โจทย์ ง่ายๆ เรียกน้ำย่อย -------------------------------เด๋วจะทำให้ดู บทความตัวอย่าง : นักเรียนดี นักเรียนดี เป็นอย่างไร หากจะกล่าวอย่างสั้นที่สุดก็คือนักเรียนดีจะต้องมีคุณสมบัติหรือองค์ประกอบอย่างน้อย 2 อย่างคือ เรียนเก่ง และ เป็น คนดี เหตุปัจจัยที่ส่งผลให้นักเรียนเป็นนักเรียนดีมีหลายอย่างเช่น พื้นฐานจิตใจนักเรียน คุณภาพการเรียนการสอน คุณภาพอาจารย์ผู้สอน คุณภาพสถานศึกษา สำหรับคุณภาพการเรียนการสอนนั้น นอกจากเรื่องห้องสมุด อาคารสถานที่ อุปกรณ์ สื่อการศึกษา ฯลฯ ยังขึ้นอยู่กับ คุณภาพอาจารย์ ด้วย นอกจากนี้ จะต้องรู้จักระวังหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง เช่น การคบเพื่อนเลว เพราะย่อมสามารถลดหรือบั่นทอนความเป็นคนดีได้โดยง่าย แผนผังวิธีคิด ตารางคำตอบ ลองคิดดูนะครับว่าทำไมถึงตอบอย่างนี้--------------------มาลองทำโจทย์ของจริงกันนะ------------------------------โอยย ง่วง ชะมัด ถ้าพิมพ์ผิดก็ขอโทษด้วยจริง คนพิมพ์เบลอแล้ว ง่วงมากมาย บทความที่1 : "ชิคุนกุนยา"ไวรัสสายพันธ์ใหม่แพร่จากยุงลาย ระบาดอีกแล้ว!!! โรคที่มาพร้อมกับยุง...เมื่อบอกอย่างนี้หลายคนคงนึกถึงโรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ไข้มาเลเรีย ที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค แต่ที่น่าตกใจเพราะตอนนี้ไม่ได้มีเพียงแค่นี้เท่านั้นแต่กลับมีโรคที่มีชื่อแปลกๆ ว่า "ชิคุนกุนยา" มาทำความรำคาญและแพร่ระบาดหนักอยู่ในภาคใต้ของประเทศเราอยู่ สถานการณ์ล่าสุด!!! หลังจากพบผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ใน 2 จังหวัดภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เร่งส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่และเฝ้าระวังโรคดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อหาทางยุติการแพร่ระบาทของโรคนี้ เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงยังไม่คุ้นหูกับโรคชิคุนกุนยา ไม่รู้ว่ามันเป็นโรคอะไร???? บ้างก็แตกตื่นว่าเป็นโรคสายพันธ์ใหม่ แต่จริงๆแล้วโรคนี้มีมานานแล้ว โดยถิ่นกำเนิดแรกของมันอยู่ทวีปแอฟริกา และแพร่ระบาดไปหลายประเทศๆ ทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็รวมประเทศไทยของเราด้วยซึ่งตรวจพบโรคชิคุนกุนยาครั้งแรกพร้อมกับที่มีโรคไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย น.พ.หม่อมหลวง สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาบอกถึงโรคดังกล่าวว่า"โรคชิคุนกุนยา"เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยามียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่ากับผู้ใหญ่ ซึ่งอาการที่เด่นชัดในผู้ใหญ่คือ อาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุ่นแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ที่อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้ สาเหตุการติดต่อ!! โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื่อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู้ต่อมน้ำลายเมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัดทำให้คนๆนั้นเกิดอาการของโรคได้ ระยะการฟักตัว!!! โดยทั่วไปจะมีการฟักตัวประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อคือระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก สำหรับอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศรีษะ ปวดกระบอกตา หรือมีเลือดออกตามผิวหนัง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดงที่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ดูแล้วเหมือนมันจะอาจจะไม่ค่อยรุนแรง เหมือนโรคไข้เลือดออกสักเท่าไหร่ แต่ถึงแม้จะไม่สามารคคร่าชีวิตของคนเราไปได้ แต่เราควรที่จะระมัดระวังเอาไว้ โดยเฉพาะลูกเด็กเล็กแดง ที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ง่าย อีกทั้งช่วงนี้มีฝนตกบ่อยทำให้มีน้ำขัง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคอีกด้วย ส่วนวิธีป้องกัน!!! ถึงแม้ทุกวันนี้ยังไม่มียาหรือวัคซีนตัวใดที่ใช้รักษาได้โดยตรงทั้งโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกันยา ดังนั้นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ และพักผ่อนให้เพียงพอก็สามารถบรรเทาอาการไปได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ สัปหาละ 1 ครั้ง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดต้องหมั่นตรวจดูที่กักเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็น บ่อ กะละมัง เพราะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่ จึงจำเป็นต้องมีฝาปิด ที่ใดจำเป็นต้องมีน้ำขังอยู่ก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไปเพื่อป้องกันการขางไข่ และ ควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำธรรมชาติเพราะ ปลาจะกินลูกน้ำเป็นอาหาร แต่นอกเหนือจากการป้องกันการแพร่พันธ์ของยุงแล้ว ตัวเราเองก็ต้องป้องกันตัวเราไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วย ควรติดมุ้งลวดภายในบ้าน หรือ ทายากันยุงขณะทำงานและออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัดตอนกล่างวัน และที่สำคัญต้องเฝ้าสังเกตุคนในบ้านว่ามีไข้และอาการคล้ายกับโรคชิคุนกุนยา หรือไม่หากมีให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ถึงแม้เวลานี้ โรคชิคุนกันยาจะเป็นโรคใหม่ที่มีชื่อไม่คุ้นหูนัก แต่หากปล่อยให้แพร่ระบาดไปสู่วงกว้างอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเศรฐกิจได้ ...วันนี้เพียงป้องกันยุงลาย นอกจากนี้จะป้องกันไข้เลือดออกแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคชิคุนกันยาได้ด้วย

น่ามหัศจรรย์









































































































































มหาลัยของรัฐ/เอกชนที่เปิดสอนวิชาออกแบบ

รายชื่อของมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
บางส่วนที่มีการเปิดสอนด้านออกแบบ, แอนิเมชั่น, ภาพยนตร์

1. มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะมัณฑนศิลป (www.decorate.su.ac.th) - สาขาวิชาออกแบบภายใน - สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ - สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา - สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา - สาขาวิชาออกแบบเครื่องประดับ - สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (www.ict.su.ac.th)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
- สาขาวิชานิเทศศาสตร์ สายวิชาภาพยนตร์ และวิทยุและโทรทัศน์
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www.suic.org/programs/bfa_multimedia.html)
- มัลติมีเดียดีไซน์ (Miltimedia Design)

2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (www.arch.kmitl.ac.th) ภาควิชานิเทศศิลป์ - สาขาวิชานิเทศศิลป์ - สาขาวิชาภาพยนตร์ และวีดีโอ - สาขาวิชาถ่ายภาพ
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://creativearts.faa.chula.ac.th/class.php) ภาควิชานฤมิตศิลป์ - สาขาวิชาเรขศิลป์ - สาขาวิชานิทรรศการศิลป์ - สาขาวิชามัณฑนศิลป์ (แฟชั่น-สิ่งทอ) - สาขาวิชาหัตถศิลป์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ - สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) (http://cucommde.blogspot.com/)
ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม (www.arch.chula.ac.th/departments_id.php)
- สาขาวิชาการออกแบบเลขนิเทศ
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ - สาขาวิชาการออกแบบสิ่งทอ - สาขาวิชาการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา - สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน
คณะนิเทศศาสตร์ (www.commarts.chula.ac.th/departments/thai/film.htm)
ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง คณะวิชาออกแบบ (www.pohchang.rmutr.ac.th , http://web.rmutr.ac.th/pch) - สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณท์ - สาขาวิชาออกแบบภายใน - ศิลปะการถ่ายภาพ5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ - สาขาวิชาการออกแบบ (www.finearts.cmu.ac.th/design/) - สาขาวิชาศิลปะการถ่ายภาพ (www.fotofofa.org)
วิทยาลัยสื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี (www.camt.cmu.ac.th/ani/)
- สาขาวิชาแอนิเมชั่น
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และออกแบบ (www.arch.kmutt.ac.th/communication.html) ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตร INTER) คณะเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (www.mediaart01.com) - สาขาวิชามีเดียอาร์ต
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดียประยุกต์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (www.fiet.kmutt.ac.th/online) - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
เอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์-มัลติมีเดีย7. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://fofa.swu.ac.th/) ภาควิชาออกแบบทัศนศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ - สาขาวิชาออกแบบแฟชั่น - สาขาวิชาศิลปะเครื่องประดับ
วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม (http://cosci.swu.ac.th/)
- สาขาวิชาการออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์และมัลติมีเดีย
- สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล8. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://fineart.buu.ac.th/visualcom.html) ภาควิชานิเทศศิลป์ - สาขาคอมพิวเตอร์กราฟิก - สาขาออกแบบเรขศิลป์ - สาขาโทรทัศน์ และดิจิตอลมีเดีย
วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี คณะอัญมณี
- สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ9. มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://faa.kku.ac.th/visual/) ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
วิทยาลัยนานาชาติ
สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น (www.ic.kku.ac.th/thai/)

10. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://fineart.tu.ac.th/home.asp)
- สาขาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
ศูนย์ลำปาง คณะศิลปกรรมศาสตร์ (www.icdonline.co.cc)
- สาขาศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน (http://jc.tu.ac.th/)
- กลุ่มวิชาภาพยนตร์
11. วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (www.muic.mahidol.ac.th/thai/media.php) หลักสูตรศิลปศาสตร์ (Bachelor of Arts – B.A.)
กลุ่มวิชาศิลปะสร้างสรรค์สื่อบันเทิง (Entertainment Media )
- การผลิตแอนิเมชัน (Animation Production)
- การผลิตภาพยนตร์ (Film Production)
- การผลิตโทรทัศน์ (Television Production)
- การออกแบบนิเทศศิลป์ (Communication Design)
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาศิลปะและการออกแบบ (www.arch.nu.ac.th/artsite/) - สาขาวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ - สาขาวิชาออกแบบสื่อนวัตกรรม - สาขาวิชาออกแบบทัศนศิลป์13. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะศิลปะประยุกต์และการออกแบบ (www.ap.ubu.ac.th/index2.php?openpage=1&pageboby=body011) ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
ภาควิชาการออกแบบสื่อโฆษณาศิลป์
ภาควิชาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ ภาควิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ14. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (www4.msu.ac.th/architect/cahome.html) ภาควิชานฤมิตศิลป์

15. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://itschool.mfu.ac.th/main)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย และการสร้างภาพเคลื่อนไหว

16. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม
(www.fitm.kmutnb.ac.th/cm/index.php?option=com_content&task =view&id=30&Itemid=42)
ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ และจัดการอุตสาหกรรมก่อสร้าง วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ภาควิชาเทคโนโลยีศิลปะอุตสาหกรรม (http://diat.cit.kmutnb.ac.th/)
- สาขาวิชาออกแบบภายใน - สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์ - สาขาวิชาออกแบบศิลปะประยุกต์

17. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะศิลปกรรมศาสตร์ (www.far.ssru.ac.th/main.php)
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาออกแบบหัตถศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (www.fit.ssru.ac.th)
- สาขาวิชาออกแบบกราฟฟิกและมัลติมีเดีย
- สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

18. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หลักสูตรศิลปกรรม ออกแบบนิเทศศิลป์
(http://dusithost.dusit.ac.th/~human/program/art2/index.html)
หลักสูตรการออกแบบงานแสดงและนิทรรศการ (http://evexdusit.blogspot.com/)

19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ (www.fa.rmutt.ac.th)
- สาขาวิชาออกแบบภายใน - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ - สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและศิลปะสิ่งทอ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน (www.mct.rmutt.ac.th)
- สาขาวิชาถ่ายภาพและภาพยนตร์ - สาขาวิชามัลติมีเดีย20. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.sci.rmutk.ac.th/)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ - สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องเรือน - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ (www.textiles.rmutk.ac.th/)
- สาขาวิชาออกแบบสิ่งทอ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (www.techhome.rmutk.ac.th/) - สาขาวิชาแฟชั่นและเทคโนโลยีเสื้อผ้า - สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่น21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (www.arch.rmutp.ac.th/firstpage.html) - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม - สาขาวิชาออกแบบบรรจุภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ (www.hec.rmutp.ac.th/th/news.php) - สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน (www.mct.rmutp.ac.th/)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

22. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (http://artnet.chandra.ac.th/news.php)
- สาขาวิชาศิลปกรรม

23. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (www.bsru.ac.th/~human/art/index.html)
- สาขาวิชาศิลปกรรมออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาศิลปกรรมออกแบบประยุกต์ศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (www.bsru.ac.th/~sci/dept/product/index.php) - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม - สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (แอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย) (http://bestechcenter.com/comtech.html)

24. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (http://dit.dru.ac.th/artanddesign/)
หลักสูตรศิลปกรรม
- สาขาวิชาประยุกต์ศิลป์
- สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- สาขาวิชาออกแบบแฟชั่น

25. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สาขาวิชาศิลปกรรม (www.pnru.ac.th/fac/human/upload-files/pictures/26/Art_9378.pdf)
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (http://servnet.pnru.ac.th/fac/techno/6.php)

26. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (http://arch.wu.ac.th/)
- สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม - สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ - สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์
- สาขาวิชาการออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

27. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ (http://art2551.rmutl.ac.th/)
- สาขาวิชาการออกแบบ - สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลป์

รายชื่อของมหาวิทยาลัยเอกชน
บางส่วนที่มีการเปิดสอนด้านออกแบบ และแอนิเมชั่น

1. มหาวิทยาลัยรังสิต คณะศิลปะและการออกแบบ (www.rsu.ac.th/arts/index1.html)
- สาขาวิชาศิลปภาพถ่าย - สาขาวิชาออกแบบภายใน - สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต - สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์

2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ (http://fab.bu.ac.th/index.php) - สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน
- สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ - สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์
- สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
คณะนิเทศศาสตร์ (www.bu.ac.th/th/academic/comarts.php)
- สาขาวิชาภาพยนตร์

3. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (www.dpu.ac.th/finearts) - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก - สาขาวิชาการออกแบบตกแต่งภายใน - สาขาวิชาการออกแบบและธุรกิจแฟชั่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ (www.dpu.ac.th/eng/ae)
- ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม
คณะนิเทศศาสตร์ (www.dpu.ac.th/commarts/page.php?id=640)
- สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล

4. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) คณะนิเทศศาสตร์ (Communication Arts) (www.admissions.au.edu/pdf/eng_comarts.pdf) ภาควิชานิเทศศิลป์ (Visual Communication Arts) - สาขาวิชานิเทศศิลป์
5. มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะดิจิทัลมีเดีย (http://sdm.spu.ac.th/)
- สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ - สาขาวิชาเกมและแอนิเมชัน

6. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (http://arch.kbu.ac.th/department.html) - สาขาวิชาออกแบบภายใน - สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะนิเทศศาสตร์
- สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิตอล

7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (www.it.mut.ac.th/about/course/index_multimedia.html)
- สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชัน

8. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คณะวิทยาศาสตร์ (http://science.utcc.ac.th/science/page/page_majorant.html) - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น

9. มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
คณะนิเทศศาสตร์ (http://commarts.hcu.ac.th/com_design.htm) - สาขาวิชานิเทศศิลป์ - สาขาวิชาสื่อมัลติมีเดียและสื่อใหม่

10. มหาวิทยาลัยคริสเตียน
คณะมัลติมีเดียและดิจิทัลอาร์ต (http://service.christian.ac.th/mda/index.php) - สาขาวิชามัลติมีเดียและแอนิเมชัน
- สาขาวิชาการพัฒนาซอฟต์แวร์-การพัฒนาและออกแบบเว็บ
- สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล11. มหาวิทยาลัยสยาม คณะนิเทศศาสตร์
- ภาควิชาสื่อดิจิตัล (www.nitadesiam.com)

มันคือที่ห้อยมือถือ