วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

วัยรุ่นซึมเศร้าโตขึ้นมาจะเป็นโรคจิต

"โจ๋"ซึมเศร้า-โตขึ้นจิตป่วย
ผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า วัยรุ่นที่มีอาการซึมเศร้าเล็กน้อย เมื่อชีวิตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะเสี่ยงมีปัญหาทางจิตสูงกว่าคนทั่วไปนักจิตวิทยามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และสถาบันจิตวิทยานิวยอร์ก ศึกษาเก็บข้อมูลจากคน 750 คน โดยสัมภาษณ์ครั้งแรกขณะอายุ 14-16 ปี จากนั้นสัมภาษณ์อีกครั้งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พบว่า ร้อยละ 8 มีอาการซึมเศร้าเล็กน้อยขณะเป็นวัยรุ่น คือรู้สึกเศร้า เบื่อ มีปัญหาในการนอน และขาดสมาธิอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 4 เท่า ที่จะซึมเศร้าหนักขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 20 และ 30 ปี นอกจากนั้น ยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2 เท่าครึ่ง ที่จะเป็นโรคกลัวการอยู่ในที่โล่ง วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ และความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่า ที่จะเป็นโรคกลัวอ้วนถึงขั้นไม่ยอมรับประทานอาหาร (อะโนเร็กเซีย) หรือรับประทานมากแล้วทำให้ตนเองอาเจียนออกมา (บูลิเมีย) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่า ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถชี้ชัดว่า อาการซึมเศร้าเมื่อเป็นวัยรุ่นเป็นอาการเบื้องต้นของอาการซึมเศร้าหนัก หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้ซึมเศร้าเมื่อเป็นผู้ใหญ่หรือไม่ด้านองค์กร "ยังมายด์ส" กลุ่มให้คำปรึกษาทางอารมณ์และจิตใจแก่วัยรุ่นในอังกฤษให้ความเห็นว่า ผลการศึกษาดังกล่าวตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือที่ถูกต้องแก่วัยรุ่นทันทีที่สัญญาณของปัญหาปรากฏ ดีกว่าปล่อยให้ปัญหาลุกลามที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ไขข้อข้องใจของใครหลายๆคน

สวัสดีครับ.. ช่วงนี้กระแส GAT PAT มาแรงแซงทาง 5 แพร่งมากๆ เพราะทั้งผู้ปกครอง นักเรียน และอาจารย์แนะแนว ต่างออกมาโจมตีการสอบ GAT PAT กันยกใหญ่ ว่าการสอบแบบนี้ไม่เหมาะกับเด็กไทย สอบแล้วได้อะไร วัดอะไรไม่ได้

จนในที่สุด ท่านอาจารย์อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. ต้องออกมาชี้แจงด้วยตัวเองผ่านหนังสือพิมพ์มติชนว่า การสอบ GAT PAT นั้นเป็นการสอบที่ดี และสามารถวัดผลของผู้สอบได้ชัดเจน รายละเอียดเป็นยังไงไปอ่านกัน

>>> ข้อสอบ GAT เป็นแบบไหน วัดอะไรได้บ้าง

อาจารย์อุทุมพร จามรมาน ได้ชี้แจงถึงลักษณะของข้อสอบ GAT ว่าเป็นข้อสอบที่วัดความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา ตลอดจนความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ โดยข้อสอบไม่เน้นเนื้อหาที่เรียน แต่วัดศักยภาพที่ติดตัวนักเรียนมา

ข้อสอบ GAT เป็นข้อสอบที่วัดความรู้ และความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ตลอดจนความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ โดยข้อสอบจะไม่เน้นเนื้อหาที่เรียน แต่วัดศักยภาพที่ติดตัวนักเรียนมา

ลักษณะการทำข้อสอบ GAT จะเป็นข้อสอบที่ไม่เน้นเนื้อหาที่เรียนมา มีบทความให้อ่าน และตั้งคำถามจากบทความที่ให้อ่าน ส่วนการตอบให้ผู้เข้าสอบระบายคำตอบที่ต้องการได้หลายตัวเลือก ซึ่งเป็นการออกข้อสอบที่ผสมผสานความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาไปพร้อมกัน


>>> ใครเป็นคนออกข้อสอบ GAT

ดังนั้น ต้องอาศัยผู้ออกข้อสอบที่มีความสามารถทางสมองระดับสูง จึงจะสามารถออกข้อสอบได้ ถือเป็นนวัตกรรมของการออกข้อสอบแบบใหม่ที่นักวัดผลควรให้ความสนใจ และข้อสอบดังกล่าวแก้ปัญหาการเดาถูกได้ลดลง ซึ่งแตกต่างจากข้อสอบแบบเลือกตอบ 4-5 ตัวเลือก ที่เปิดโอกาสให้เดาถูก 20-25%

ทั้งนี้ จากการติดตามผลการสอบที่ผ่านมาพบว่า มีนักเรียนได้คะแนน 0 และได้คะแนนเต็ม โดยผู้ที่ได้คะแนน 0 จะไม่สามารถเรียนต่อในคณะแพทย์ศิริราชได้ ในขณะที่ผู้ที่ได้คะแนนเต็ม มีความสุขในการเรียนแบบคิดวิเคราะห์ ซึ่งสอนในคณะแพทย์หลายแห่ง ที่สำคัญอยากชี้แจงว่า วัตถุประสงค์หลักของการวัดผล คือ การได้คะแนนที่สะท้อนสิ่งที่ต้องการวัดได้

>>> ข้อสอบ PAT เป็นแบบไหน

ส่วนข้อสอบ PAT จะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่จำเป็นในการเรียนต่อ ในคณะนั้นๆ ร่วมกับความถนัดเฉพาะที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์ของเนื้อหายังมากไป ในอนาคตอาจต้องปรับให้เนื้อหา และศักยภาพมีเปอร์เซ็นต์ที่ใกล้เคียงกัน

เอาล่ะครับ.. ความจริงแล้วข้อสอบ GAT PAT ก็เป็นแนวการสอบที่ดีนะครับ.. แต่ที่ไม่ดีคงอยู่ที่ขั้นตอน และรายละเอียดการสอบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วน หรือรูปแบบกฏกติกาต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงกันบ่อยมากๆ จนคนสอบตามไม่ทัน

แต่ไม่ว่าจะข้อสอบ GAT PAT จะถูกเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน หรือจะวัดผลได้มากน้อยเพียงใด สิ่งที่อยากฝากชาวเด็กดีคือ ให้ตั้งใจ และเตรียมพร้อมไว้ครับ.. เราในฐานะผู้ตาม ก็ต้องทำหน้าที่ผู้ตามให้ดีที่สุดครับ.. ครั้งที่ 3 อีกไม่กี่วันนี้ จงเต็มที่ครับ.. สู้ๆๆ

ลาเต้ลิขิต : ชาวเด็กดีไปสอบ GAT PAT มาแล้ว ได้อะไรกลับมาบ้าง ^_^

10วิธีปฏิบัติ...ไม่พลาดในการสอบ

สวัสดีค่ะชาวเด็กดี มีใครบ้างที่เวลาสอบเกิดอาการเอ๋อๆ เบลอๆ กันบ้างค่ะ หรือบางทีก็เกิดอาการตื่นเต้นลืมนั่นลืมนี่ไปหมด วันนี้พี่แนนเลยมีเคล็ดลับ "ทำอย่างไร ไม่ให้สะเพร่าเวลาทำข้อสอบ" จากน้อง Tawan_T_Pro มาบอกค่ะ พี่แนน เห็นว่าเป็น 10 วิธีที่จะช่วยให้น้องๆ สามารถทำการสอบได้อย่างไม่พลาด มาดูกันว่า มีอะไรบ้าง
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
กฎ 10 ข้ออันพึงประสงค์ในการสอบ
1.เวลาทำข้อสอบให้เขียนชื่อ-สกุล ชั้น ให้เรียบร้อย
2.ตรวจดูข้อสอบว่ามีครบทุกข้อหรือเปล่า (เช่น ข้อ1 ข้อ2 ข้อ4) ถ้าขาดหายไปให้รีบแจ้งอาจารย์ทันที
3.อ่านโจทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง แล้วจึงตอบ (ตีโจทย์ให้เข้าใจก่อน)
4.ถ้าข้อไหนคิดไม่ออก ให้ข้ามไปทำข้อต่อไปทันที พอเสร็จจึงกลับมาทำข้อที่เหลือเพื่อไม่ให้เสียเวลา
5.ตรวจดูว่าเราใส่คำตอบตรงตามข้อหรือเปล่า ถ้าเป็นกระดาษคำตอบ ให้ตรวจว่าคำตอบตรงกับคำถามหรือเปล่า
10 วิธีปฏิบัติ..ไม่พลาดในการสอบ !!!
6.ถ้าใกล้หมดชั่วโมง ให้รีบตอบให้หมดทุกข้อ ห้ามเว้นไว้ เพราะบางทีอาจจะถูก แต่ถ้าเว้นไม่ก็ไม่มีโอกาสได้คะแนน
7.การอ่านทบทวนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากทำข้อสอบแล้วไม่ทบทวน จะมีโอกาสถูกแค่ 80%
8.เวลาอ่านหนังสือ ไม่ควรอ่านหลายวิชาพร้อมๆกัน เพราะอาจงงเวลาสอบได้
9.ความเป็นระเบียบเวลาทำข้อสอบอัตนัย (บรรยาย)เราต้องเขียนให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้อ่านง่าย และมีโอกาสถูกเพิ่มขึ้นถึง 5%
10.วิธีสุดท้ายนี้ได้มาจากอาจารย์ คือ เวลาทำข้อสอบต้องมั่นใจให้ได้ 50% ขึ้นไป เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ ต้องมั่นใจว่าถูกกว่า 50 ข้อ แค่นี้ก็ไม่ตกแล้ว
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ "ความมั่นใจ"

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับเคล็ดลับ 10 ข้อ ลดการสะเพร่าเวลาสอบ จากน้อง Tawan_T_Pro ซึ่งช่วยให้เรามีความรอบคอบมากขึ้น และไม่ทำให้เราพลาดคะแนนสวยๆในแต่ละวิชา ชาวเด็กดีคนไหนสนใจก็สามารถนำไปลองใช้กันได้นะคะ หรือใครมีเคล็ดลับนอกเหนือจากนี้ ก็มาเล่าให้พี่แนนฟังบ้างนะคะ ทาง nan[at]dek-d.com จ้า..^^

พี่แนนขอขอบคุณข้อมูลจากบทความของน้อง Tawan_T_Pro ค่ะภาพประกอบจาก http://files.softloads.in,www.sriwittayapaknam.ac.th