วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

สัตว์ป่าสงวน

สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ จำนวน ๙ ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกางผา สัตว์ป่าสงวนเหล่านี้หายาก หรือใกล้จะสูญพันธุ์หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่างๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๖ นับเป็นสมาชิกลำดับที่ ๘๐ จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิม และตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ขึ้นใหม่เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕สัตว์ป่าสงวนตามในพระราชบัญญัติฉบับใหม่ หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้ และตามที่กำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์ป่าสงวนได้โดยสะดวก โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไข หรือเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ต้องถึงกับต้องแก้ไขพระราชบัญญัติอย่างของเดิม ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มเติมชนิดสัตว์ป่าที่มีสภาพล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์ อย่างยิ่ง ๗ ชนิด และตัดสัตว์ป่าที่ไม่อยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการที่สามารถเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้มาก ๑ ชนิด คือ เนื้อทราย รวมกับสัตว์ป่าสงวนเดิม ๘ ชนิด รวมเป็น ๑๕ ชนิด ได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแล้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรPseudochelidon sirintarae
แรดRhinoceros sondaicus
กระซู่Dicerorhinus sumatrensis
กูปรีหรือโคไพรBos sauveli
ควายป่าBubalus bubalis
ละองหรือละมั่งCervus eldi
สมันหรือเนื้อสมันCervus schomburki

กวางผาNaemorhedus griseus
นกแต้วแล้วท้องดำPitta gurneyi
นกกระเรียนGrus antigone
แมวลายหินอ่อนPardofelis marmorata
สมเสร็จTapirus indicus
เก้งหม้อMuntiacus feai
พะยูนหรือหมูน้ำDugong dugon
เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำCapricornis sumatraensis

GAT PAT คืออะไร

เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553
“สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ 5 ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่” ผอ.สทศ. กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์ , สยามรัฐ

ไวยากรณ์ฝรั่งเศส

ประเภทและกลุ่มของคำกริยา [Les catégories et les groupes de verbes]
ประเภทของคำกริยา :
1. คำกริยาที่ต้องการ กรรมตรง หรือ กรรมรอง (verbes transitifs) * Je choisis des cadeaux. (กรรมตรง) [ฉันเลือกของขวัญ] * Je réponds à sa lettre.(กรรมรอง) [ฉันตอบจดหมายของเขา]
2. คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (verbes intransitifs) * Elle est partie. [หล่อนไปแล้ว]
<คำกริยาบางคำสามารถมีได้หลายโครงสร้าง> : * Il est temps de conclure. (ไม่มีกรรม) [ถึงเวลาต้องสรุปแล้ว] * Conclus ton devoir. (กรรมตรง) [ทำการบ้านของเธอให้เสร็จ] * La justice conclut à un non lieu.(กรรมรอง) [ศาลตัดสินให้พ้นผิด]
3. คำกริยาที่ไม่ได้ระบุถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ (verbes impersonnels) โดยจะประกอบกับประธาน " il " เท่านั้น * Il pleut. [ฝนตก] * Il faut partir tout de suite. [ต้องไปเดี๋ยวนี้] * Il est bon de se lever tôt. [การตื่นนอนแต่เช้าเป็นสิ่งที่ดี]
กลุ่มของคำกริยา :
1. กลุ่มที่ 1 คือ คำกริยาที่ infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายด้วย _er (ยกเว้น aller ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 3) : parler, habiter, regarder, travailler ...
ตัวอย่างการผัน verbe "parler" :
1. ตัด _er ออก [ จะเหลือ "แกน" (radical) : parl ]
2. เติม "ลงท้าย" (terminaison) ที่ "แกน" (radical) : _e , _es, _e, _ons, _ez, _ent
Je parle (เชอ ปาล)
Tu parles (ตู ปาล)
Il (Elle / On) parle (อิล / แอล / อง ปาล)
Nous parlons (นู ปาร์-ลง)
Vous parlez (วู ปาร์-เล)
Ils (Elles) parlent (อิล / แอล ปาล)
2. กลุ่มที่ 2 คือคำกริยา ที่ infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายด้วย _ir : finir, choisir, grandir, réussir, ...
ตัวอย่างการผัน verbe "finir" :
1. ตัด _ir ออก [ จะเหลือ "แกน" (radical) : fin ]
2. เติม "ลงท้าย" (terminaison) ที่ "แกน" (radical) : _is , _is, _it, _issons, _issez, _issent
Je finis (เชอ ฟิ-นิ)
Tu finis (ตู ฟิ-นิ)
Il (Elle / On) finit (อิล / แอล / อง ฟิ-นิ)
Nous finissons (นู ฟิ-นิส-ซง)
Vous finissez (วู ฟิ-นิส-เซ)
Ils (Elles) finissent (อิล / แอล ฟิ-นิส)
3. กลุ่มที่ 3 คือคำกริยาอื่นๆที่ส่วนใหญ่แส้ว infinitif (คำกริยาที่ยังไม่ได้ผัน) ลงท้ายแตกต่างจากคำกริยาในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2
โดยจะมี รูปแบบการผันที่หลากหลาย : être, avoir, prendre, faire, vouloir, mettre ...
ตัวอย่างการผันคำกริยากลุ่มที่ 3 : verbe : "être", "avoir", "prendre", "faire", "vouloir":
être
avoir
prendre
faire
vouloir
Je suis
J' ai
Je prends
Je fais
Je veux
Tu es
Tu as
Tu prends
Tu fais
Tu veux
Il/Elle/On est
Il/Elle/On a
Il/Elle/On prend
Il/Elle/On fait
Il/Elle/On veut
Nous sommes
Nous avons
Nous prenons
Nous faisons
Nous voulons
Vous êtes
Vous avez
Vous prenez
Vous faites
Vous voulez
Ils/Elles sont
Ils/Elles ont
Ils/Elles prennent
Ils/Elles font
Ils/Elles veulent
<คำกริยา "être" และ "avoir" เป็น คำกริยาในกลุ่มที่ 3 นอกจากจะเป็นกริยาแท้ แล้ว ยังเป็นกริยาช่วย (auxiliaires) ในการสร้างรูปอดีตกาล (temps composé ของ passé composé) อีกด้วย> * Je suis étudiant. (กริยาแท้)[ ฉันเป็นนักศึกษา] * Je suis arrivé en avance. (กริยาช่วย) [ฉันมาก่อนเวลา] * J'ai beaucoup de travail. (กริยาแท้) [ฉันมีงานมาก] * J'ai fini mes devoirs. (กริยาช่วย) [ฉันทำการบ้านเสร็จแล้ว]

กลอนสำหรับเด็กศิลป์จ้า

คณิตศาสตร์เอเน็ตปีห้าสอง เด็กศิลป์ลองมาสอบแทบใจหาย
พอเปิดมาหน้าแรกก็ตาลาย หน้าสุดท้ายยิ่งยากใหญ่ไม่อยากดู ปรนัยเค้าให้มายี่สิบห้าข้อ หนูละท้อทำไม่ได้ใจหดหู่เปิดด้านหลังอัตนัยได้แต่ดู ไม่เคยรู้วิธีทำสักข้อเลย โจทย์มันให้พิจารณาต่อไปนี้ ดูกี่ทีมันก็งงต้องนิ่งเฉยหันข้างข้างก็ทำกันไม่ได้เลย เพราะไม่เคยเรียนมาก่อนทำไงดี เรื่องสับเซตสมการก็หลายข้อ ยังมีต่อเมทริกซ์อะไรนี่ดูข้อไหนหนูก็งงมากทุกที ไม่รอรีฝนมั่วอย่างว่องไว อีกสามเหลี่ยมส่วนเบี่ยงเบนสัมประสิทธิ์ ไม่เคยคิดหาคำตอบจากที่ไหนได้แต่ฝนแบบมั่วมั่วมาจากใจ ถึงทำไปก็นั่งงมเสียเวลา ยี่สิบห้าข้อแรกฝนมั่วหมด อนาคตจะอยู่ไหนละเธอจ๋าอยากจะลุ้นให้คะแนนนั้นออกมา เต็มเจ็ดห้าได้เท่าไรไม่ว่ากัน ตอนที่สองก็อีกยี่สิบห้า ไม่ได้กาเหมือนตอนแรกได้แต่ฝันโจทย์ทุกข้อโครตยากเหมือนเหมือนกัน คำตอบนั้นอย่าหวังจะหาเจอ ไม่มีช้อยให้ฝนมั่วเหมือนตอนแรก โครตจะแปลกได้แต่ทำหน้าเอ๋อเอ๋อถึงตอนนี้สมองหนูนั้นโครตเบลอ เปิดไปเจอแต่ตัวเลขน่าเศร้าใจ รวมทั้งหมดคะแนนเต็มตั้งหนึ่งร้อย ถูกเล็กน้อยสักยี่สิบไม่หวั่นไหวเพราะคะแนนคงไม่น้อยไปกว่าใคร คนทำได้ก็ต้องเทพเก่งจริงจริง แต่ปัญหาก็คือเวลาเหลือ โครตจะเบื่ออยากจะออกหาที่สิงมีเวลาสองชั่วโมงนั้นเยอะจริง หนูทิ้งดิ่งสิบนาทีเสร็จหมดเลย นั่งก็แล้วนอนก็แล้วอารมณ์เสีย แสนจะเพลียแอร์ก็หนาวต้องนิ่งเฉยพอเวลาใกล้จะหมดหนูยิ้มเลย เพื่อนๆเอยวิ่งออกห้องอย่างว่องไว

อุทาหรณ์ม.6ปีนี้--สำหรับเด็กที่มั่ยสั่ยจัยเรื่องเรียน

เป็นข้อสรุปแล้วว่าเด็ก ม.6 ทั้ง 12 คนที่มีปัญหาเรื่องการสมัครสอบเอเน็ต ได้รับการคืนสิทธิจาก สกอ เนื่องจากความผิดพลาดของใบสมครที่มีบาร์โค้ดไม่ชัดเจนแต่เด็กอีก 544 คน ก็ถูกตัดสิทธิ์ เพื่อการไม่รักษาสิทธิ์ที่มีอยู่จริงหรือที่ สกอ บกพร่องในเรื่องของระบบที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ทราบวันสุดท้ายของการชำระเงิน มีการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดีพอ หรือไม่มีระบุไว้ในใบสมัครอย่างชัดเจนแต่ในอีกมุมมองหนึ่ง เด็ก ม.6 ผู้ที่กำอนาคตของตนเองเอาไว้ ควรที่จะสนใจศึกษาข้อมูล เช็คข่าวสารแอดมิชชั่น ทำไมเด็กอีกกว่า 2 แสนคนถึงสมัครได้ ทำไมถึงรู้ว่าวันสุดท้ายของการชำระเงินคือวันอะไร จำนวนทั้งสองต่างกันมากนะครับความหวังของเราต้องการความใส่ใจและความพยายามนะครับ ไม่ว่าใครจะถูกหรือผิด แต่ถ้าเรามีความพร้อมที่จะต่อสู่เพื่ออนาคตซะอย่าง ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอนลองมองดูว่า สิ่งที่เราหวัง และอนาคตของเรา ทำไมต้องฝากไว้กับวันสุดท้ายของการชำระเงินค่าสมัครสอบ ยิ่งไปกว่านั้นพอชำระเงินไม่ทัน จะอ้างว่าเป็นเทศกาล ต้องทำอะไรหลายอย่าง อนาคตนะครับหนูๆ ปีใหม่มันก็คงไม่เลยมาเป็นสิบวันหรอก แม้กระทั่งเพื่อนที่มีอิทธิพลทางความคิดสูง เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่จะถามคนอื่นว่า "แกไปจ่ายตังค์เอเน็ตรึยัง" "แกจ่ายถึงวันที่ 14 นะ" แล้วทำไมเราถึงไม่ใส่ใจล่ะ พอธนาคารปิด แม้ระบบยังไม่ปิด ไปชำระอีกวัน หลักฐานก็ฟ้องว่าเกินกำหนด ต้นตอปัญหามันอยู่ที่เราต่างหากทั้งหมดที่กล่าวไปไม่ใช่การตำหนินะครับ แต่เป็นการให้แง่คิดในเรื่องของสิทธิ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ความหวัง ความฝัน ในอนาคตของเรา ตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถะในพระพุทธศาสนาที่สอนเรื่องการทำประโยชน์ในปัจจุบันให้ดีที่สุด ถ้าตัวเราใส่ใจ เราพร้อมซะอย่าง ปัญหาไม่เกิดแน่นอนก็เป็นอุทาหรณ์สำหรับน้องๆ รุ่นต่อไปนะครับ พี่ก็ขอฝากบล็อคนี้ไว้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานี้ไว้ มันเป็นเพียงมุมมองหนึ่งของคนที่เคยผ่านระบบนี้มาแล้วนะครับhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=philosed&month=03-2009&date=04&group=1&gblog=3ดังนั้นอยากให้น้องๆ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แสดงความคิดเพื่อให้เป็นข้อมูลแก่น้องๆ รุ่นต่อไปในกระทู้นี้และพี่ก็ขอให้การเสียสละเวลาให้ทัศนคติของน้องจงทำให้ความฝันและความหวังของน้องในสนามแอดมิชชั่นนี้เป็นจริง ได้คณะอันดับที่ 1 ดังที่ใฝ่ฝันไว้โดยเฉพาะน้องๆ ที่หวังจะเป็นต้นกล้าจามจุรีน้อยๆ ของพี่ ก็ขอให้สมหวังกับการเสียสละแสดงความคิดในกระทู้นี้ทุกคน see you @ CU นะจ๊ะ