วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ไวยากรณ์ประจำเดือน

Les temps de l' indicatif

 L' imparfait 

    การใช้ :

        1. บรรยายเหตุการณ์หรือบอกสภาพที่ดำรงอยู่ช่วงหนึ่งในอดีต (la durée, la description, et la situation)

            - Quand elle était jeune, elle était mince et belle. (ตอนหล่อนเป็นสาว หล่อนร่างบางและสวย)

            - Avant il y avait beaucoup de poissons dans cette rivière. (เมื่อก่อนนี้มีปลามากในแม่นํ้าสายนี้)

            - C' était un dimanche, il faisait beau, les gens se promenaient dans les rues ou bavardaient

               à la terrasse de café. J' étais heureuse. (เป็นวันอาทิตย์หนึ่งที่อากาศสดใส ผู้คนเดินเล่นตามท้องถนน

               หรือไม่ก็พูดคุยกันบนเทอเรสของร้านกาแฟ ฉันรู้สึกมีความสุข)

        2. พูดถึงสิ่งที่กระทำเป็นประจำในอดีต หรือบรรยายเหตุการณ์ที่ซํ้าๆกันในอดีต (l' habitude et la répétition)

            - Il prenait toujours un café après le déjeuner. (เขาดื่มกาแฟหลังอาหารกลางวันเป็นประจำ))

            - Chaque fois qu' il me voyait, il me disait qu' il pensait à moi ! (ทุกครั้งที่เขาเห็นฉันเขาจะบอกว่าคิดถึงฉัน)

        3. ใช้แทนรูป présent ของคำกริยาในประโยคตาม ในการนำคำพูดของคนอื่นไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง (discours indirect)

            เมื่อคำกริยาในประโยคนำอยู่ในรูปอดีต (passé)

            - Il dit qu' il veut voyager loin.

            -> Il a dit qu' il voulait voyager loin.

            - Il dit qu' il en a assez de son travail.

            -> Il disait qu' il en avait assez de son travail.

       4. ใช้คู่กับ passé composé เพื่อบอกว่า ขณะที่เหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ อีกเหตุการณ์ก็เกิดแทรกขึ้นมา [เหตุการณ์ที่     

           กำลังดำเนินอยู่ในอดีตใช้ imparfait ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดแทรกขึ้นมาใช้ passé composé]

           - Je dormais tranquillement quand, soudain, quelqu'un m' a appelé. (ฉันกำลังหลับสบายตอนที่มีคนเรียกฉัน)

       5. บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดขึ้นในอดีต

           - Encore un pas et je tombais ! (นี่อีกเพียงก้าวเดียวฉันก็คงจะล้มแล้ว)

           - Ah j' oubliais de vous dire une chose, c' est qu' on saura le résultat plus tôt que prévu. (อ้า ! เกือบลืมบอก

           อะไรเธอไปอย่างหนึ่ง คือเราจะรู้ผลการสอบเอนทรานซ์เร็วกว่ากำหนด)

       6. [สำหรับเหตุการณ์ปัจจุบัน] ในประโยคเงื่อนไขหรือสมมุติ นำด้วย Si + verbe (ในรูป imparfait) คู่กับอีกประโยคหนึ่งที่

           verbe อยู่ในรูป conditionnel présent เพื่อเป็นการสมมุติสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาส

           เป็นไปได้น้อยมาก [ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2]

           - Si j' avais le temps, je viendrais te voir. (ถ้าฉันมีเวลาฉันจะมาหาเธอ) [แต่เป็นที่รู้กันว่าไม่มีเวลา]

           - Si j' étais elle, je ferais plus attention. (ถ้าฉันเป็นหล่อนฉันจะใส่ใจกว่านี้) [แต่เป็นที่รู้กันว่าหล่อนไม่ค่อยใส่ใจ

             และฉันก็ไม่ใช่หล่อนด้วย]

       7. [สำหรับเหตุการณ์ในอนาคต] ในประโยคที่ขึ้นต้นด้วย Si + verbe ........... ? (ในรูป imparfait) เพื่อชักชวนหรือเสนอแนะ

           - Si on allait au cinéma ce soir ? (คํ่านี้เราไปดูหนังกันไหม)

           - Si nous faisions un pique-nique ce samedi ? (วันเสาร์นี้เราไปปิคนิคกันดีไหม)

       8. ตามหลัง "comme si" เป็นเชิงเปรียบเทียบ หรือ ตั้งสมมุติฐาน มีความหมาย = "ราวกับว่า" [แต่ในความเป็นจริง ไม่ใช่]

           - Il me parle comme s' il était mon patron. (เขาพูดกับฉันราวกับว่าเขาเป็นเจ้านายฉัน)

      สำนวน "être en train de" ในรูป imparfait ตามด้วย infinitif ใช้เพื่อเน้นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต

          - Qu' est-ce que tu faisais quand je t' ai téléphoné ? (เธอกำลังทำอะไรอยู่ตอนที่ฉันโทรมาหาเธอ)

          - J' étais en train de préparer le dîner. (ฉันกำลังเตรียมอาหารเย็นอยู่)

      รูปแบบ : [การผันคำกริยาในรูป imparfait]

         1. นำคำกริยาที่ต้องการมาผันกับประธานบุรุษที่ 1(Nous)ในรูป présent

         2. ตัดลงท้าย "ons" ออก

         3. เติมลงท้ายที่แกนของคำกริยาด้วย : _ais, _ais, _ait, _ions, _iez, _aient :

         1er groupe (parler) : Nous parlons     ->     parl_     ->  

             2e groupe (finir) : Nous finissons      ->      finiss_      ->

             3e groupe (prendre) : Nous prenons      ->      pren_      ->  

 1er groupe 
    parler

2e groupe 
     finir
3e groupe 
  prendre
Jeparlaisfinissaisprenais
Tuparlaisfinissaisprenais
Il / Elleparlaitfinissaitprenait
Nousparlionsfinissionsprenions
Vousparliezfinissiezpreniez
Ils / Ellesparlaientfinissaientprenaient

        ยกเว้น verbe "être" ทีใช้แกน "ét_"

            J' étais, Tu étais, Il / Elle était, Nous étions, Vous étiez, Ils / Elles étaient

         Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_ger" เช่น manger, voyager, changer, mélanger, songer ... [g + e + a]

            Je mangeais, Tu mangeais, Il / Elle mangeait, Nous mangions, Vous mangiez, Ils / Elles mangeaient 

         Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_cer" เช่น commencer, placer, déplacer, tracer ... [ç + a]

          Je plaçais, Tu plaçais, Il / Elle plaçait, Nous placions, Vous placiez, Ils / Elles plaçaient

กำเนิดไดโนเสาร์

 กำเนิดไดโนเสาร์ 

ไดโนเสาร์ได้ถือกำเนิดใน มหายุคมีโสโซอิกซึ่งแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ๆ คือ

  • ยุคไตรแอสสิก (Triassic) 190-225 ล้านปี
  • ยุคจูแรสสิก (Jurassic) 135-190 ล้านปี
  • ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) 65-135 ล้านปี
  1. ไดโนเสาร์ยุคไตรแอสสิก 190-225 ล้าน ลายมหายุคพาลีโอโซอิค ความแห้งแล้งได้เกิดขึ้นไปทั่วโลก เป็นสาเหตุให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่สามารถฟักได้ ความแห้งแล้งดังกล่าวทำให้สัตว์เลื้อยคลานได้ถือกำเนิดขึ้น ไดโนเสาร์จึงเกิดขึ้น ในมหายุคมีโสโซอิก (245-65 ล้านปีที่ผ่านมา) มหายุคมีโสโซอิกเริ่มต้นด้วยยุคไตรแอสสิก บนพื้นโลกยังเต็มไปด้วย ความแห้งแล้งและความร้อนไปทั่ว พืชพวกสน (จิมโนสเปอร์ม) เจริญอย่างมากมาย พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน พวกคิโนนาตัส และพวกอาศัยในทะเลพลาโคโดอุสและโนโทซอรัสก็เจริญในช่วงนี้เช่นกัน
  2. ไดโนเสาร์ยุคจูแรสสิก 135-190 ล้านปี มื่อ 208 - 245 ล้าน 6 แสนปีที่ผ่านมาเป็นยุคจูแรสสิก ไดโนเสาร์ตัวขนาดใหญ่ได้ปรากฏตัวขึ้น เป็นยุคที่โลกยังร้อนชื้นอยู่ พืชพวกสน หญ้า ซีด้า สนหางม้าเจริญอย่างมากมาย เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์ กินพืชเจริญขึ้นมามากมาย พวกกินเนื้อก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ไดโนเสาร์ที่เกิดขึ้น ถ้าแบ่งตามลักษณะของกระดูกเชิงกรานแล้วก็จะแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่กระดูกเชิงกรานเหมือนกิ้งก่า (ซอริสเชียน) พวกที่มีกระดูกเชิงกรานเหมือนพวกนก (ออร์นิธิสเชียน) พวกซอริสเชียนจะเดินด้วย 4 เท้า ได้แก่ อะแพทโตซอรัส บราคิโอซอรัส (พวกกินพืช) เดโปโดคุส (กินทั้งพืชและสัตว์) พวกซอริสเชียนที่เดินด้วย 2 ขา ได้แก่ พวกขนาดยักษ์ เช่น อาโรซอรัส พวกขนาดเล็ก เช่น เคมโซกุนาตัส พวกออร์นิธิสเชียน เช่น สเตโกซอรัส ในยุคจูแรสสิกนั้นพวกสัตว์เลื้อยคลานมีการเจริญอย่างกว้างขวาง พวกที่อยู่ในทะเลก็มีคล้ายปลาโลมา ได้แก่ อิกธิโอซอรัส พวกที่บินอยู่บนฟ้า ได้แก่ แรมโฟรินคัส เดโมโฟดอน ในยุคจูแรสสิกนี้ บรรพบุรุษของนกก็ถือกำเนิดขึ้น
  3. ไดโนเสาร์ยุคครีเตเชียส 65-135 ล้านปยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิก สัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีการค้นพบที่จังหวัดฟุกุชิมาได้แก่ พวกไดโนเสาร์คอยาว โมซาซอรัส เป็นพวกกิ้งก่าทะเล อาเครอน เป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มี เคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมาย ยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อาร์บาโตซอรัส ไทแรนโนซอรัสปรากฎในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ ไทแรนโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อ พวกซอริสเชียน ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัส พวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืช พวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโร โฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ สเตโกซอรัส แองคีลอซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่า ก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์ บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์ หลัง จากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก
  4. ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 65 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน ในช่วงสิ้นสุดยุคครีเตเชียส อากาศและท้องทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลง แผ่นดินมีการเคลื่อนตัว สภาพแวดล้อมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไดโนเสาร์ได้เริ่มสูญพันธุ์พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเมราโนดอน และเดลตาเทริเชียมได้ดำเนินชีวิตอยู่ เมืองไทยก็มีไดโนเสาร์ หลายคนคงไม่ทราบมาก่อนว่า ไดโนเสาร์เคยมีชีวิตอยู่จริงในประเทศไทย เนื่องจากในสมัยตอนปลาย ของยุคจูแสสิก หรือเมื่อ 200 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันเคยอุดมสมบูรณ์ ไปด้วย หนอง บึง ทะเลทราย ต้นไม้นานาพันธุ์ ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของไดโนเสาร์ไดโนเสาร์ปรากฎกายให้ชายไทยได้รู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อนักธรณีวิทยาท่านหนึ่งได้พบกระดูกท่อนขา ของไดโนเสาร์ชนิด คาเมราซอรัส ต่อมาก็มีการขุดค้นพบซากของโครงกระดูก ฟันของไดโนเสาร์เพิ่มมากขึ้น

 

ปัจจุบันไดโนเสาร์ที่พบในเมืองไทยที่ได้รับการยืนยันชนิดและสกุลแล้วมี 2 พันธุ์ คือ

ไซแอมโมซอรัส สุธีธรน

  • ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนิ [Siamosaurus teethorni] เป็นไดโนเสาร์เทอร์โรพอด ซึ่งพบซากฟันโดย คุณวราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญการค้นหาไดโนเสาร์ในเมืองไทย จัดว่าเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ ชื่อสกุล หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากสยาม ชื่อชนิดจากชื่อ คุณวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่นไซแอมโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดเล็ก ปราดเปรียวว่องไว มีฟันที่แหลมคมมีชีวิตอยู่เมื่อ 150 ล้านปี ที่แล้ว ตัวยาวประมาณ 0.45 เมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม

ซิดตาโคซอรัส สัตยารักกิ

  • ซิดตาโคซอรัส สัตยารักกิ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว พบกรามล่างขวา ฟันและกระโหลกด้านบนซ้าย เนื่องจากมีลักษณะแตกต่างไปจาก ฟอสซิลที่พบในมองโกเลีย จึงให้ชื่อเป็นชนิดใหม่ ตามชื่อของ คุณนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบที่ จ.ชัยภูมิ ซิดตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีจะงอยปากเหมือนนกแก้ว มีชีวิตอยู่เมื่อชีวิตอยู่เมื่อ 144-65 ล้านปี ที่ผ่านมา ตัวยาวประมาณ 2 เมตร มีเขาที่บริเวณแก้มไว้ป้องกันตัว เดินด้วย 2 ขา จัดว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะทั้งหลาย

 

แหล่งค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย ซากโครงกระดูกที่พบในประเทศไทย

ส่วนใหญ่อยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลายและยุคครีเตเชียสตอนต้น จังหวัดที่ขุดพบซากไดโนเสาร์คือ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.กาฬสินธุ์ และจ.สกลนคร พบรอยเท้าคาร์โนซอร์ ที่ภูหลวง จ. เลย พบกระดูกและฟันที่ภูเวียง พบรอยเท้าที่ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา พบกระดูกเล็ก ๆ ของ คอมพ์ซอกนาธัส 2 ชิ้น ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น พบรอยเท้าของซีลูโรซอร์ ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น พบรอยเท้าที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา และยังพบ กระดูกและฟันของออร์นิโธมิโมซอร์ที่ภูเวียง จ. ขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่หลายชนิดที่ จ. กาฬสินธุ์ และจ.สกลนคร ข่าวล่าสุด

  • มีรายงานพบว่าได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ขนาดใหญ่และมีความยาวมาก ที่ จ.ชัยภูมิ

 

การเลือกซื้อผักผลไม้

การเลือกซื้อผักผลไม้

ผักและผลไม้เป็นอาหารประจำวันที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และกากใยอาหาร ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แจ่มใส มีแรงต้านทานโรค ทำให้ผิวพรรณและนัยน์ตาสดใส เหงือกและฟันแข็งแรง ช่วยระบบประสาท ช่วยให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารทำงานด้วยดี

แต่เนื่องจากในสังคมปัจุบัน เทคโนโลยีการเกษตรมีการพัฒนามากขึ้น การใช้สารพิษกำจัดแมลงจึงมีอยู่ทั่วทุกแห่ง แต่เนื่องจากอาจใช้สารพิษกำจัดแมลงเป็นไปโดยขาดความรู้และความรับผิดชอบบางรายใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ใช้สารพิษร่วมกันหลายชนิด และการเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนครบกำหนดระยะเก็บเกี่ยว จากการใช้สารพิษกำจัดแมลงทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด และตกค้างอยู่ในผัก ผลไม้ นอกจากนั้นยังมีสารพิษจำนวนหนึ่งตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ในดินและน้ำ จะเข้าไปสะสมในผักผลไม้ ยากแก่การกำจัดหรือลดปริมาณลง

ฉะนั้นเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ สารพิษนั้นก็จะเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หากมีสารพิษตกค้างในร่างกายในปริมาณที่มาก จะทำให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง อาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ ตกใจง่ายมองไม่ชัด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว ชักกระตุก แน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก   รูม่านตาหรี่เล็กน้ำตา-น้ำมูก-น้ำลายไหล ผิวหนังเป็นตุ่มนูน กล้ามเนื้อสั่นกระตุก

ด้วยเหตุนี้เราชาวเจทั้งหลายควรมีความพิถีพิถันในการเลือกซื้อผักผลไม้ที่ไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีก็มีในจำนวนน้อยที่สุด เพื่อปัองกันไม่ให้ร่างกายของเราสะสมสารพิษจนเกิดเป็นอันตรายขึ้นมา

ไม่ควรเลือกชื้อผักที่มีใบสวยงามมากนัก ควรเลือกที่มีรูพรุนบ้าง แสดงว่าแมลงยังกินได้ เราก็กินได้เช่นกัน เนื่องจากใช้ยาฆ่าแมลงน้อยนั่นเอง ผักประะเภทกินหัวจะสะสมพิษตกค้างในดินมากกว่าผักกินใบ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง หรือใช้บ้างเล็กน้อย เช่น ตำลึง กระถิน ผักบุ้งถั่วงอก หัวปลี ดอกโสน  ดอกแค หน่อไม้ เป็นต้น

ปัจจุบันในบางจังหวัดมีการปลูก “ผักกางมุ้ง” ที่ว่านี้หมายถึงผักที่ปลูกโดยใช้ตาข่ายไนล่อนกางปิดเพื่อป้องกันแมลงลงกัดกิน จึงไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง

ส่วนผลไม้นั้นหากมิได้ขึ้นตามกิ่งและผล แสดงว่าอาจไม่มีสารพิษตกค้างหรือมีไม่มาก เลือกผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เช่น กล้วย มะละกอไม่เลือกผลไม้ที่มีรูพรุนหรือมีรอยแตก เช่น ส้มต้องเลือกผิวเรียบไม่มีรูหรือรอยแตกเมื่อชื้อผักผลไม้มาแล้ว ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย  ครั้งควรล้างโดยใช้น้ำก๊อกไหลผ่านนานอย่างน้อย  นาที  ยิ่งดี หรืออาจใช้สารละลายอย่างใดอย่างหนึ่งล้างดังนี้

น้ำยาล้างผัก

น้ำด่างทับทิม ประมาณ ๕ เกล็ดใหญ่ต่อน้ำ      ลิตร

น้ำเกลือ  ช้อนโต๊ะพูนๆ ต่อน้ำ  ลิตร

น้ำซาวข้าว ใช้ข้าวสาร  กิโลกรัม ต่อน้ำ ๔ ลิตร (เวลาหุงข้าวเทน้ำเก็บไว้)

น้ำส้มสายชู ใช้ครึ่งถ้วยต่อน้ำ  ลิตร

โซดาทำขนม โดยใช้ผงโซดา  ช้อนโต๊ะต่อ น้ำ  ลิตร

ผลไม้ที่เปลือกบางหรือผักกินสดเปลือกบางสามารถกินได้ทั้งเปลือก แต่ควรล้างให้สะอาดโดยหลังจากล้างด้วยสารละลายอย่างหนึ่ง ล้างด้วยน้ำสะอาดตาม การกินทั้งเปลือกจะได้รับวิตามินซีสูงกว่าปอกเปลือก

หากสามารถทำได้เช่นนี้แล้ว เราชาวเจทั้งหลายก็จะได้รับสารพิษที่ตกค้างในผักและผลไม้น้อยมากหรือแทบจะไม่ได้รับสารพิษเลยก็ว่าได้


วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันสำคัญของเดือนนี้(ประวัติและความเป็นมา)


วันปิยมหาราช -> 23ตุลาคมของทุกปี



๒๓ ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของหวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราชหรือพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น 
          ต่อมา
ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์  

พระราชประวัติ


สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์

          พระบาทสมเด็จพระปริมทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฬ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหากุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖
          ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓ ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธกับพระปริยัติธรรมธาดา(เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษาวิชาการยิ่งปืนไฟจากสำนัก พระยาอภัยศรเพลิง(ศรี) ทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาอื่นๆ อันสมควรแก่บรมราชกุมาร
          นอกจากนี้ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนาเลียวโนแวนส์ ครูสตรีชาวอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษากับหมอจันดเล ชาวอเมริกัน และ เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช ๒๔๑๖ ได้ทรงศึกษา ได้ทรงศึกษากับครูชาวอังกฤษ ชื่อฟรานซิส ยอร์จ แพตเตอสัน ต่อมาก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน
          ในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดีนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนด้วยพระองค์เองตลอดมา
          หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ เหล่าเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
 


 พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑

          พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ ขณะนั้นทรงพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ระหว่างนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหม่ที่ ประเทศทางตะวันตกนำมาเผยแพร่เพื่อนำเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป


  พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้