วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย


ประวัติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549
เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง[5][6]
หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย
ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง[7]
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)

ตระกูลเวชชาชีวะ
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี ต่อมาในรุ่นคุณปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "คุณปู่ใหญ่" พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29(10 ก.พ. 2502-8 ธ.ค. 2506) และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30(11 ธ.ค. 2506- 11 มี.ค. 2512) และเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2492
สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัย รัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัย ร.6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย [8]
นายอภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันท์เป็นบุตรของ นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์

การรับราชการทหาร
ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร[9][10] พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน[11] เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[9] คำแถลงของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร [12] จึงเกิดข้อกังขาว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้
เรื่องดังกล่าว นายอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น ในอีกทางหนึ่งเรื่องนี้เคยมีความเห็นจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่าในครั้งนั้น นายอภิสิทธิ์ สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ และมีความเห็นว่านายอภิสิทธิ์ ได้เข้ารับราชการทหารแล้ว [13]
ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็น จากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้นายอภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น[14]

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงานทางการเมือง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก
สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาธร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)

ผลงานทางการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[15] ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[16] ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง
นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก[6] อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม
จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549

บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน
ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า "มาร์ค ม.7"
ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2551 โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก
ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน 235 เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน 198 เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง[17]

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โรคภัยอันตรายยย(มะเร็งเม็ดเลือดขาว)

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลงอาการ

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณเกล็ดเลือด ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวนเม็ดเลือดแดงมีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน

ประเภท

การแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายแบบ ได้แก่


มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ เรื้อรัง

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic leukemia) เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ในหลาย ๆ ช่วงอายุ


Lymphoid และ myeloid

นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเม็ดเลือดขาว ได้แก่

  • Lymphocytic leukemia คือ การที่พบเซลล์ในสาย Lymphoid ได้แก่ ลิมโฟไซท์ (Lymphocytes) และพลาสมาเซลล์ (plasma cells) ที่ผิดปกติเป็นจำนวนมากในกระแสเลือด
  • Myelogenous leukemia คือ การที่พบเซลล์ที่ผิดปกติในสายmyeloid ได้แก่ eosinophils, neutrophils, และ basophils เพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด


ดังนั้น เราจึงสามารถแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาว ออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  • Acute lymphocytic leukemia (Acute Lymphoblastic Leukemia หรือ ALL) สามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกดวย
  • Acute myelogenous leukemia (Acute Myeloid Leukemia (AML) หรือ acute nonlymphocytic leukemia) สามารถพบในผูใหญ่มากกว่าเด็ก
  • Chronic lymphocytic leukemia (CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
  • Chronic myelogenous leukemia (CML) พบได้ในผู้ใหญ่ แต่ไม่ค่อยพบในเด็ก

โดยสรุปแล้ว เราสามารถพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด AML และ CLL ได้ในผู้ใหญ่ ในขณะที่ เราสามารถพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ในเด็ก


สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนมากมักเกิดจากการผิดปกติของข้อมูลทางพันธุกรรม ซึ่งนำไปสู่การแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติไป นั่นคือ จำนวนเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไม่ยอมหยุด ดังนั้น เราสามารถสรุปสาเหตุการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังนี้


การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และมะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน โดยหลักการการรักษาคือระยะแรกจะควบคุมโรคให้สงบ (remission) หลังจากนั้นจะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (relapse) ผู้ป่วยหลายรายสามารถหายขาดได้

วิธีการรักษา

เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้

การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด

การรักษาอื่นๆที่จำเป็น

เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมากดังนั้นการรักษาอื่น ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอเกิดการติดเชื้อง่ายดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ทีมีคนมากโดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ antibiotic

ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและพบบ่อยหากเป็นมากอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย ถ้าซีดมากควรได้รับการเติมเลือด tranfussions ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจช่องปากก่อนการรักษา

ผลข้างเคียงของการรักษา

1. เคมีบำบัด Chenotherapy หลักการให้เคมีบำบัดคือทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วซึ่งเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วดังนั้นจึงถูกทำลายมากแต่ขณะเดียวกันการให้เคมีบำบัดก็ทำลายเซลล์ปกติดังนั้นอาการข้างเคียงจึงเกิดจากการที่เซลล์ปกติถูกทำลาย ผู้ป่วยจะคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เป็นหมัน

2. รังสีรักษา Radiotherapy บริเวณที่ฉายแสงขนหรือผมจะร่วง ผิวบริเวณดังกล่าวจะแห้ง คัน ห้ามใช้ lotion ก่อนปรึกษาแพทย์

3. การปลูกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เลือดออกผิดปกติ



วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ไวยากรณ์ประจำเดือน

Le style indirect คือการนำคำพูด หรือ คำถามแบบตรง มาเล่า มาพูด หรือมาถามใหม่ โดยแยกออกเป็น :

 L'interrogation indirecte หรือ la question rapportée [การถามแบบอ้อมๆ : การยกคำถามมาถามใหม่อีกครั้ง] :

 La question portant sur toute la phrase : [ถามทั้งประโยค โดยคำตอบจะเป็น "oui", "non" หรือ "si" ] เราจะใช้ "si" ในการเชื่อมประโยค โดยมีความหมาย = " ....... หรือไม่" :

- Paul : "Est-ce que tu aimes la musique classique ?" 
---> Paul demande à Sophie si elle aime la musique classique.
- La mère : "Tu ne vas pas à l'école aujourd'hui ?"
---> Ma mère me demande si je ne vais pas à l'école aujourd'hui.
- Prangsaï : "Aï-Rada, tu veux bien m'aider pour mes devoirs ?"
---> Prangsaï veut savoir si Aï-Rada veut bien l'aider pour ses devoirs.
- Wararat : "Est-ce que je vais réussir à l'examen de français ?"
---> Wararat se demande avec inquiétude si elle va réussir à l'examen de français.

 La question portant sur une partie de la phrase : [ถามส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค ด้วยคำที่ใช้ตั้งคำถาม (mot interrogatif) เช่น Qui, Quand, Comment, Pourquoi, Où, ...] เราจะใช้ "mot interrogatif" ตัวเดิม ในการเชื่อมประโยค :

- Le professeur : "Pourquoi apprenez-vous le français ?"
---> Le professeur demande à ses élèves pourquoi ils apprennent le français.
- Le père à Ratikorn : "Qui t'a téléphoné ?" 
---> Son père lui demande qui lui a téléphoné. 
- Un touriste à un passant : "Où est la gare, s'il vous plaît ?"
---> Un touriste veut savoir où est la gare. 
- Un Français : "À quelle heure commence l'école en Thaïlande ?"
---> Il veut savoir à quelle heure l'école commence en Thaïlande.

 La question avec " Qu'est-ce qui ... ? " : [คำถามที่ถามว่า "อะไร" (ทำหน้าที่ประธาน)] เราจะใช้ " ce qui " = สิ่งที่ซึ่ง ในการเชื่อมประโยค :

- Souchada : "Qu'est-ce qui se passe ?" "Pourquoi ris-tu ?"
---> Souchada demande à Thannmaporn ce qui se passe et pourquoi elle rit.
- Nathienat : "Qu'est-ce qui te plaît dans cette école, Yaem ?" 
---> Nathienat veut savoir ce qui plaît à Yaem dans cette école.

 La question avec " Qu'est-ce que ... ? " [คำถามที่ถามว่า "อะไร" (ทำหน้าที่กรรม)] เราจะใช้ " ce que " = สิ่งที่ซึ่ง ในการเชื่อมประโยค :

- Pattaraporn : "Qu'est-ce que tu fais dimanche ?" 
---> Pattaraporn demande à Phasika ce qu'elle fait dimanche.
- Kanntarat : "Que penses-tu de mon nouveau portable, Chonlada ?"
---> Kanntarat demande à sa copine ce qu'elle pense de son nouveau portable.

 Le discours indirect หรือ le discours rapporté [การนำคำพูด มาบอก หรือ มาเล่าใหม่] :

ปรากฏการณ์ที่สวยงาม


สวยมั้ยค่ะ *-*

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

CHRISMAS DAY



Axen AirCard Hi-End Siemens Chipset ราคาใกล้เคียงแอร์การ์ดจีน



คริสต์มาส  คือ การฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม  คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ  Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า"   คำว่า "Christes Maesse"  พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038  และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย "คริสต์มาส" ก็มีความหมาย เช่นกัน คำว่า "มาส" แปลว่า "เดือน" เทศกาลคริสต์มาสจึง เป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพิเศษ  คำว่า"มาส" คือ"ดวงจันทร์" ตีความหมายในภาษาไทยคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก เหมือนดวงจันทร์ เป็นความสว่างในตอนกลางคืน  Merry X'mas คำว่า Merry  ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า"สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ    ถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น  มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซู ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศประเพณี นี้ ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป   ประวัติ....ซานตาคลอส  วันคริสต์มาสนี้เริ่มตั้งแต่คริสตวรรษที่4 มีนักบุญคนหนึ่งชื่อ "นิโคลาส "  หรือ "เซนต์นิโคลาส" ท่านเป็นนักบุญ ตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อเป็นเด็กหนุ่ม ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆราชแห่งแคว้นไมรา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี ท่านได้กลายเป็นนักบุญอุปถัมถ์ประจำชีวิตเด็ก เด็กในประเทศอังกฤษ จะเรียกคุณตาใจ ดีว่า "คุณพ่อแห่งวันคริสต์มาส" ( Father Christmas )  เด็กเยอรมันนีเรียกว่า "ญาติแห่งพระคริสต์ " ( Christ Child )  เด็กชาวดัชท์เรียกว่า "ซาน นิโคลาส" หรือ "Sankt  Klous" ในที่สุดกลายเป็น "ซานตาคลอส" ติดปากเด็กๆทั่วโลก  ในปี ค.ศ. 1866 นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน ชื่อ โธมัส แนส เป็นคนแรกที่วาดภาพของ ซานตาคลอสขึ้นมาลักษณะเหมือนที่เรา เห็นทุกวันนี้ ลงพิมพ์ในหนังสือ  "Horpers Weekly"เป็นครั้งแรกใบหน้าของซานตาคลอส เป็นสีแดงอมชมพูเหมือนกลีบกุหลาบ จมูกแดงเหมือนผลเชอรี่สุก  นัยน์ตาสุกใสเป็นประกาย หนวดเคราสีขาวท่าทางใจดี   ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียง ตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย คือความปิติยินดีชื่นชม  ความโอบอ้อมอารี ความรัก  และความเป็นกันเอง         ..ต้นคริสต์มาส.. 
ในสมัยโบราณหมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ตั้งแต่ศตวรรษที่11 ชาวคริสต์แสดงละครที่หน้าวัด  ถึงความหมายของคริสต์มาสและเอาตันไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลางเพื่อประดับฉากแสดงถึง  บาปกำเนิดของอาดัมและเอวาต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาง่าย ที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง  เนื่องจากการแสดงนั้นกลายเป็นการเล่น เหมือน ลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง  และศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง   ชาวบ้านรู้สึกเสียดายที่ ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆแบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของ ตน  โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกกัน  จากนั้นก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ลและแขวนแผ่นขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท ซึ่ง ก็มีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญ  อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้  
เราจะเห็นได้ว่าวันคริสต์มาสเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่พระบุตร
ของพระเจ้ามาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระองค์เป็นพระเจ้า ที่จะอยู่กับเราตลอดไป
เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ เป็นพี่หัวปีที่จะนำมนุษย์ทั้งมวลไปสู่พระบิดาเจ้า 
พระองค์เป็นความสำเร็จบริบูรณ์ ตามคำ สัญญาของพระเจ้าที่จะดูแลป้องกัน
รักษาเราผู้เป็นประชากรของพระองค์ 
Dashing through the snow On a one-horse open sleigh, Over the fields we go, Laughing all the way; Bells on bob-tail ring, making spirits bright, What fun it is to ride and sing A sleighing song tonight Jingle bells, jingle bells, jingle all the way! O what fun it is to ride In a one-horse open sleigh  A day or two ago, I thought I'd take a ride, And soon Miss Fanny Bright Was seated by my side; The horse was lean and lank; Misfortune seemed his lot; He got into a drifted bank, And we, we got upsot. Jingle Bells, Jingle Bells, Jingle all the way! What fun it is to ride In a one-horse open sleigh.  A day or two ago, the story I must tell I went out on the snow And on my back I fell; A gent was riding by In a one-horse open sleigh, He laughed as there I sprawling lie, But quickly drove away. Jingle Bells, Jingle Bells, Jingle all the way! What fun it is to ride In a one-horse open sleigh.  Now the ground is white Go it while you're young, Take the girls tonight And sing this sleighing song; Just get a bob-tailed bay two-forty as his speed Hitch him to an open sleigh And crack! you'll take the lead. Jingle Bells, Jingle Bells, Jingle all the way! What fun it is to ride In a one-horse open sleigh.