วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติฝรั่งเศส,การเลือตั้งในประเทศฝั่งเศส,ฯลฯ

République française
เรปูบลีก ฟรองแซส

สาธารณรัฐฝรั่งเศส


ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส


ตราแผ่นดิน
คำขวัญ: Liberté, Égalité, Fraternité
("เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ")
เพลงชาติ: ลามาร์แซแยส

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศฝรั่งเศส

เมืองหลวง ปารีส
48°51′N 2°20′E
เมืองใหญ่สุด ปารีส
ภาษาราชการ ภาษาฝรั่งเศส
รัฐบาล สาธารณรัฐเดี่ยว กึ่งประธานาธิบดี
ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
นิโกลาส์ ซาร์โกซี
ฟรองซัวส์ ฟียง

การสร้างชาติ

พ.ศ. 1386 (สนธิสัญญาแวร์เดิง)
(สาธารณรัฐที่ 5: พ.ศ. 2501)
เข้าร่วม EU 25 มีนาคม พ.ศ. 2500
เนื้อที่
- ทั้งหมด
- พื้นน้ำ (%)

551,695 กม.² (อันดับที่ 47)
?
ประชากร
- 2550 ประมาณ
- ความหนาแน่น

64,102,1401 (อันดับที่ 20)
112/กม² (อันดับที่ 68)
GDP (PPP)
- รวม
- ต่อประชากร
2548 ค่าประมาณ
1.871 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 7)
30,100 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 24)
HDI (2546) 0.942 (อันดับที่ 16) – สูง
สกุลเงิน ยูโร2 (EUR)
เขตเวลา
- ฤดูร้อน (DST)
CET (UTC+13)
CEST (UTC+23)
รหัสอินเทอร์เน็ต .fr
รหัสโทรศัพท์ +33
หมายเหตุ 1: ขนาดเนื้อที่และจำนวนประชากรไม่รวมดินแดนโพ้นทะเล
หมายเหตุ 2: ดินแดนโพ้นทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกใช้ฟรังก์ซีเอฟพี
3เฉพาะฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปเท่านั้น

(France) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) (ฝรั่งเศส: République française ออกเสียง [ʁepyˈblik fʁɑ̃ˈsɛz]) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่นๆ ในต่างทวีป ชาวฝรั่งเศสมักจะเรียกฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ว่า "หกเหลี่ยม" (L'Hexagone) เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขตของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิลและซูรินาเม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และหมู่เกาะอินดีสเนเธอร์แลนด์ตะวันตก (ติดกับแซงต์-มาแตง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี โดยมีอุดมการณ์จากคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แผ่อาณาเขตบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันตกและเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองในอาณานิคมนั้นๆ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกว่า 79 ล้านคนต่อปี (รวมทั้งนักท่องเที่ยวทางธุรกิจ แต่ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อยู่ภายในประเทศน้อยกว่า 24 ชั่วโมง) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในสมาชิกสหภาพอีกด้วย ฝรั่งเศสเองยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, ประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก, G8 และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกด้วย


ที่มาและประวัติของชื่อ

คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากภาษาละติน Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนแห่งแฟรงค์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงค์ (Franks) หนึ่งในนั้นคือมาจากคำในภาษาโปรโต-เยอรมัน Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงค์ เป็นที่รู้จักกันในนาม Francisca

อีกทฤษฎีหนึ่งของประวัติของคำคือภาษาเยอรมันโบราณ โดยคำว่า แฟรงค์ แปลว่า อิสระ ซึ่งคำนี้ได้วิวัฒนาการมาเป็นคำว่า ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี พ.ศ. 2545

ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรแห่งแฟรงค์ อีกด้วย

ภูมิประเทศ

ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)

ภาพถ่ายแผ่นดินใหญ่ประเทศฝรั่งเศสจากดาวเทียมในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ภาพถ่ายแผ่นดินใหญ่ประเทศฝรั่งเศสจากดาวเทียมในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 547,030 ตารางกิโลเมตร (211,209 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาปีเรเนส์ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงต์บล็องก์ หรือ มองต์บลังก์ (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่างๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอนน์ แม่น้ำแซนและแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา ไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร

แผนที่ดินแดนของฝรั่งเศส

แผนที่ดินแดนของฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่าง 41° and 50° เหนือ บนขอบทวีปยุโรปตะวันตกและตั้งอยู่ในภูมิอากาศเขตอบอุ่นเหนือ ทางภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น แต่กระนั้นภูมิประเทศและทะเลก็มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศเหมือนกัน ละติจูด ลองจิจูดและความสูงเหนือระดับน้ำทะเลทำให้ประเทศฝรั่งเศสมีภูมิอากาศแบบคละอีกด้วย ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ภาคตะวันตกส่วนมากจะมีปริมาณน้ำฝนสูง ฤดูหนาวไม่มากและฤดูร้อนเย็นสบาย ภายในประเทศภูมิอากาศจะเปลี่ยนไปทางภาคพื้นทวีปยุโรป อากาศร้อน มีมรสุมในฤดูร้อน ฤดูหนาวหนาวกว่าเดิมและมีฝนตกน้อย ส่วนภูมิอากาศเทือกเขาแอลป์และแถบบริเวณเทือกเขาอื่นๆ ส่วนมากมักจะมีภูมิอากาศแถบเทือกเขา ด้วยอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งกว่า 150 วันต่อปีและปกคลุมด้วยหิมะกว่า 6 เดือน

ประวัติศาสตร์

ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกลในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี

ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก

ภาพ  La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพนำประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติฝรั่งเศส

ภาพ La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพนำประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง

ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ

ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน

ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง

การเมือง

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

การแบ่งเขตการปกครอง

ดูบทความหลักที่ หน่วยการบริหารของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (Metropolitan France) แบ่งการปกครองออกเป็น

  • 22 แคว้น (regions - régions) ได้แก่
  1. อัลซาซ (Alsace)
  2. อากีแตน (Aquitaine)
  3. โอแวร์ญ (Auvergne)
  4. บาส-นอร์มองดี (Basse-Normandie)
  5. บูร์กอญ (Bourgogne)
  6. เบรอตาญ (Bretagne)
  7. ซองตร์ (Centre)
  8. ชองปาญ-อาร์แดน (Champagne-Ardenne)
  9. กอร์ส (คอร์ซิกา)(Corse)
  10. ฟรองช์-กงเต (Franche-Comté)
  11. โอต-นอร์มองดี (Haute-Normandie)
  1. อีล-เดอ-ฟรองซ์ (Île-de-France)
  2. ลองเกอด็อก-รูซียง (Languedoc-Roussillon)
  3. ลีมูแซง (Limousin)
  4. ลอร์แรน (Lorraine)
  5. มีดี-ปีเรเนส์ (Midi-Pyrénées)
  6. นอร์ด-ปาส์-เดอ-กาเลส์ (Nord-Pas-de-Calais)
  7. เปอีส์ เดอ ลา ลัวร์ (Pays de la Loire)
  8. ปีการ์ดี (Picardie)
  9. ปัวตู-ชารองต์(Poitou-Charentes)
  10. โปรวองซ์-อัลป์-โกต ดาซูร์ (Provence-Alpes-Côte d'Azur)
  11. โรน-อัลป์(Rhône-Alpes)

โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก ได้แก่


เศรษฐกิจ

พลังงาน

เป็นประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับสองของโลก รองลงมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา (58 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ใน 19 โรงงานปรมาณูทั่วประเทศ) การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ 88% มาจากพลังงานนิวเคลียร์ ค่าไฟฟ้าในประเทศราคาถูกกว่าประเทศใกล้เคียง จึงมีการส่งออกกระแสไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น [1] เศรษฐกิจ

ผลผลิตประชาชาติ 1,871 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2549)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 30,100 ดอลลาร์สหรัฐ (2549)

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2 (2549)

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.0 (2549)

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ กลุ่มประชาคมยุโรป กว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของฝรั่งเศส (เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี) ที่เหลือ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ แอลจีเรีย

สินค้าเข้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่ง เหล็ก เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และ ยาสูบ

สินค้าออก รถยนต์ เครื่องบิน เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ พลาสติก เหล็ก โลหะ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ อาหาร

สภาวะเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและผลผลิตด้านอาหารอันดับที่ 2 ของโลก (โดยเฉพาะธัญพืชและผลิตภัณฑ์อาหาร) รองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม อันดับที่ 4 ของโลก นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ

การค้าต่างประเทศ - ในอดีต ฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา - ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง (2) ฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพฯ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และ (3) การส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของฝรั่งเศสทั้งหมด

อัตราการว่างงาน ปัญหาการว่างงานเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาล ทุกชุดให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจ คาดว่าฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี 2541 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ และสงครามในอิรัก[2]

ประชากร

จำนวนประชากร : 64.102 ล้านคน ( 2551)

วัฒนธรรม

ชาวฝรั่งเศสมีวัฒนธรรมการนอนกลางวัน จึงส่งผลให้ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสชอบนอนกลางวันตามไปด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนลึกของวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับของอังกฤษและอิตาลีอยู่แล้ว ไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจนเด่นชัด เช่น การจับมือ ภาษา เป็นต้น

ดูเพิ่ม


สถานีย่อยประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic) (ฝรั่งเศส: République française ออกเสียง [ʁepyˈblik fʁɑ̃ˈsɛz]) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่นๆ ในต่างทวีป ชาวฝรั่งเศสมักจะเรียกฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ว่า "หกเหลี่ยม" (L'Hexagone) เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศและอาณาเขตของประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์รา และสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิลและซูรินาเม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และหมู่เกาะอินดีสเนเธอร์แลนด์ตะวันตก (ติดกับแซงต์-มาแตง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย

สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี โดยมีอุดมการณ์จากคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แผ่อาณาเขตบริเวณทวีปแอฟริกาตะวันตกและเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการมีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมและการเมืองการปกครองในอาณานิคมนั้นๆ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศกว่า 79 ล้านคนต่อปี (รวมทั้งนักท่องเที่ยวทางธุรกิจ แต่ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อยู่ภายในประเทศน้อยกว่า 24 ชั่วโมง) ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในสมาชิกสหภาพอีกด้วย ฝรั่งเศสเองยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, ประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก, G8 และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกด้วย

บทความแนะนำ

รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

  • สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม
  • สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité)

บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)
2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย อ่านต่อ ...

อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย (Marie Louise d'Autriche) (พระนามเต็ม: มาเรีย ลูโดวิก้า ลีโอโพลดีน่า ฟรานซิสก้า เธเรเซีย โจเซฟ่า ลูเซีย, Maria Ludovika Leopoldina Francisca Theresia Josepha Lucia von Habsburg-Lorraine (Bonaparte)) ทรงเป็นอาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย ก่อนที่จะทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ของนโปเลียน จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส และเมื่อปีพ.ศ. 2360 พระองค์ทรงเป็น ดัชเชสแห่งปาร์มา ปิอาเซนซ่า และกูแอสตาลล่า นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระราชินีมารี อังตัวเนตแห่งฝรั่งเศสอีกด้วย...

อาร์คดัชเชสมาเรีย ลูเซียทรงประสูติเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2334กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ทรงเป็นพระราชธิดาองค์โตในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และพระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ เจ้าหญิงมาเรีย เทเรซ่าแห่งทู ซิชิลีส์ เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงได้รับการศึกษาด้านภาษาจากครูผู้สอนชาวเยอรมัน ตามพระบัญชาของสมเด็จพระราชชนกและสมเด็จพระราชชนนี ดังนั้น พระองค์จึงทรงสามารถตรัสและทรงอักษรเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาละติน และภาษาสเปน เป็นต้น อ่านต่อ ...

บุคคลประจำเดือนก่อน เมษายน
...

รูปภาพประจำเดือน

ข่าวเด่น

ลาซาเร่ ปอนติเชลลี่ (Lazare Ponticelli) เป็นหนึ่งในทหารกว่า 8.4 ล้านคนที่ได้ร่วมรบภายใต้ธงชาติฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1 และเขาก็เป็นทหารผ่านศึกคนสุดท้ายในกองทัพฝรั่งเศสที่ได้ร่วมในมหาสงครามที่มีชีวิตยืนยาวที่สุด เขาได้เสียชีวิตเมื่อวันพุธ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ที่บ้านพักในเครมลิน-บีแซ็ตร์ กรุงปารีส โดยมีอายุ 110 ปี

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีได้ออกมาประกาศการเสียชีวิต และได้กล่าวว่าเป็นการเศร้าโศกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีนายทหารน้อยกว่า 24 คนที่เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 และยังมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน ในปีนี้มีทหารผ่านศึกเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน รวมถึงทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีที่เพิ่งเสียชีวิตไปและต่อมาคือปอนติเชลลี่

การมีชีวิตรอดไม่ได้ถือว่าเป็นการประสอบความสำเร็จแต่อย่างใด และปอนติเชลลี่ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในปีที่แล้วว่า "ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" เขาได้กล่าวอยู่เสมอว่าเกียรติประวัตินั้นตกอยู่กับทหารฝรั่งเศสกว่า 1.3 ล้านคนที่ได้เสียชีวิตระหว่างสงคราม และเมื่อสัปดาห์เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โรเบิร์ต เอ็ม. เกตส์ได้สดุดียกย่องทหารผ่านศึก โดยเฉพาะทหารผ่านศึกอเมริกันคนสุดท้ายที่ได้ถูกส่งไปรบในต่างประเทศ แฟรงค์ บักเคิลส์ ซึ่งมีอายุกว่า 107 ปี ในทางกลับกันรัฐบาลเยอรมนีกลับเพิกเฉยต่อการเสียชีวิตของทหารผ่านศึกชาวเยอรมนีคนสุดท้าย เอริช แคสต์เนอร์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550

เมื่อฌากส์ ชีรักเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้สาบานว่าจะแสดงความเคารพต่อทหารผ่านศึกคนสุดท้ายโดยให้มีงานศพอย่างสมเกียรติ แต่ปอนติเชลลี่กลับต่อต้านแนวความคิดของชีรัก โดยกล่าวว่ามันจะเป็นการลบหลู่ทหารคนอื่นๆ ที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยไม่มีพิธีหรืองานศพใดๆ

แต่หลังจากการเสียชีวิตในเดือนมกราคมของทหารผ่านศึกชาวฝรั่งเศส หลุยส์ เดอ กาเซอนาฟ (110 ปี) ปอนติเชลลี่ได้ตกลงที่จะให้มีงานระลึกเล็กๆ แด่เหล่าทหารผ่านศึกที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว "ไม่อึกทึกครึกโครม ไม่มีขบวน" เขากล่าว

สถานีย่อย

รู้หรือไม่...?


การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส

เหตุการณ์ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 : ผู้ประเมินยืนอยู่ข้างหลังหีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใส

เหตุการณ์ในการเลือกตั้'ประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550 : ผู้ประเมินยืนอยู่ข้างหลังหีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใส
ประเทศฝรั่งเศส

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ:
ระบบการปกครองของ
ประเทศฝรั่งเศส



การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศส เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยของประเทศฝรั่งเศส โดยที่ประเทศฝรั่งเศสปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบตัวแทน โดยข้าราชการฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะถูกเลือกตั้งโดยประชาชน (ทางตรงหรือทางอ้อม) ในบางโอกาสประชาชนยังมีส่วนร่วมในการลงประชามติอีกด้วย

เนื้อหา

กฎเกณฑ์ต่างๆ

ประเทศฝรั่งเศสมีเลือกตั้งในระดับประมุขของรัฐ (ประธานาธิบดี) และนิติบัญญัติ

  • ประธานาธิบดี (Président) ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนโดยมีวาระ 5 ปี
  • รัฐสภา (Parlement) มี 2 สภา
    • สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) มีสมาชิก 577 คน ได้รับการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปีในเขตเลือกตั้งเขตหนึ่งโดยตรงจากประชาชน
    • วุฒิสภา (Sénat) มีสมาชิก 321 คน
      • 304 คน ได้รับการเลือกตั้งจากคณะเลือกตั้งที่เป็นตัวแทนในแต่ละจังหวัด โดยมีวาระ 6 ปี
      • 5 คน ได้รับการเลือกตั้งจากเมืองขึ้น
      • 12 คน ได้รับการเลือกตั้งจากสมัชชาแห่งชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ (Assemblée des Français de l'étranger) ซึ่งสมาชิก 150 คนของสมัชชานั้นได้รับการเลือกตั้งจากผู้ที่อาศัยอยู่นอกประเทศ

ชาวฝรั่งเศสเองก็สามารถเลือกตั้งได้อีกหลายหลายแบบในส่วนการปกครองท้องถิ่น ทั้งยังมีการเลือกตั้งที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมือง เช่น การจัดการบริหารกฎหมายแรงงาน (Tribunaux de prud'hommes) ซึ่งได้ให้ลูกจ้าง คนงาน หรือแม้กระทั่งเจ้าของกิจการเป็นคนเลือกตั้งโดยตรง

ประเทศฝรั่งเศสนั้นมิได้ดำรงอยู่ในระบบพรรคการเมืองสองพรรคแบบสมบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่มีเพียง 2 พรรคที่มีโอกาสในการเลือกตั้งและช่วงชิงอำนาจกัน แต่การเมืองประเทศฝรั่งเศสนั้น ถึงจะมีลักษณะโน้มเอียงไปทางระบบพรรคการเมืองสองพรรค แต่ก็มีลักษณะพิเศษคือ พรรคการเมืองต่างๆ ค่อนข้างมีอำนาจสลับกันและยังให้การร่วมมืออย่างมั่นคง ซึ่งนำโดยแกนนำจากพรรคการเมืองต่างขั้วกัน ฝ่ายซ้าย คือพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส ส่วนฝ่ายขวาคือ พรรคอูแอ็มเป (UMP) และพรรคก่อนๆ

การเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสนั้นจะจัดขึ้นเฉพาะในวันอาทิตย์เท่านั้น มีการหยุดการรณรงค์หาเสียงในคืนวันศุกร์ก่อนการเลือกตั้งที่จะถึง และด้วยกฎหมาย ผลการสำรวจต่างๆ ไม่สามารถตีพิมพ์ได้ ผู้สมัครไม่สามารถออกโทรทัศน์ ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ (วันเลือกตั้ง) คูหาเลือกตั้งจะเปิดตั้งแต่ 08.00 น. และจะปิดในเวลา 18.00 น. (ในเมืองเล็กๆ) หรือ 20.00 น. (ในเมืองใหญ่ๆ) แล้วแต่การตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ ตามกฎหมาย มีการห้ามตีพิมพ์ผลการเลือกตั้งหรือการคาดคะเนผลการเลือกตั้ง แต่อย่างไรก็ตามผลการเลือกตั้งมักจะปรากฏจากสื่อมวลชนของประเทศเบลเยี่ยมและสวิสเซอร์แลนด์ หรือจากเว็บไซต์ต่างประเทศทางอินเทอร์เน็ต การประเมินผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะปรากฏเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ในเวลา 20.00 น. (เวลาท้องถิ่นกรุงปารีส) แต่กระนั้นก็มีผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น ในเฟรนช์เกียนา มาร์ตินีกและกวาเดอลูป สามารถทราบถึงการประเมินผลการเลือกตั้งทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปิดการเลือกตั้ง (เนื่องจากเวลาที่แตกต่างกัน) ซึ่งทำให้เป็นการตัดกำลังใจในการเลือกตั้ง และด้วยเหตุผลนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 การเลือกตั้งของฝรั่งเศสในแถบอเมริกา รวมทั้งสถานทูตและสถานกงสุลจะจัดขึ้นในวันเสาร์เป็นการพิเศษ

หีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใสมาตรฐานใช้ในประเทศฝรั่งเศส ผู้ลงคะแนนจะหย่อนซองจดหมายที่มีชื่อหรือรายชื่อที่ผู้ลงคะแนนได้ลงคะแนนให้ จากนั้นจะต้องเซ็นในเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงการลงคะแนนซ้อน

หีบบัตรเลือกตั้งโปร่งใสมาตรฐานใช้ในประเทศฝรั่งเศส ผู้ลงคะแนนจะหย่อนซองจดหมายที่มีชื่อหรือรายชื่อที่ผู้ลงคะแนนได้ลงคะแนนให้ จากนั้นจะต้องเซ็นในเอกสารเพื่อหลีกเลี่ยงการลงคะแนนซ้อน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเป็นชาวฝรั่งเศสที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจะต้องอยู่รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีกด้วย สำหรับการเลือกตั้งส่วนท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งยุโรป พลเมืองที่มีอายุ 18 ปีหรือมากกว่าซึ่งมาจากประเทศในเครือสหภาพยุโรป สามารถเลือกได้ว่าจะลงคะแนนเสียงในประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ การลงทะเบียนมีสิทธิในการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นการบังคับ แต่การงดออกเสียงจะทำให้ความเป็นไปได้ของการออกคะแนนเสียงหมดลง ปัจจุบันประชาชนที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์จะได้รับการลงทะเบียนอัตโนมัติ

พลเมืองสามารถลงทะเบียนเลือกตั้งตามทะเบียนบ้านของตนเองหรือสถานที่แห่งหนึ่งที่ตนเองได้ชำระภาษีท้องถิ่นในบริเวณนั้นๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี พลเมืองเองไม่สามารถลงทะเบียนเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งที่ ส่วนพลเมืองที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศสามารถลงทะเบียน ณ สถานกงสุลตามเขตการปกครองที่ตนเองอาศัยอยู่

พลเมืองที่ลงทะเบียนเลือกตั้งอย่างถูกกฎหมายเท่านั้นที่สามารถทำงานในสำนักงานทั่วๆ ไปได้

คูหาเลือกตั้ง

คูหาเลือกตั้ง

ถึงกระนั้นก็มีข้อยกเว้นในกฎเกณฑ์ต่างๆ ข้างต้น นักโทษที่มีความผิดอาจจะถูกตัดสิทธิที่พึงจะมีบางประการ ซึ่งรวมสิทธิในการลงคะแนนเสียง ขึ้นอยู่กับคดีของแต่ละคน โดยเฉพาะข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งที่ได้ใช้เงินในทางที่ผิด อาจะถูกตัดสิทธิในการทำงานในสำนักงานทั่วๆ ไปเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ระบุไว้สำหรับควบคุมความประพฤติของนักการเมืองยังเป็นที่ขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งเห็นได้จากคดีความของอแลง ฌูป์เป

การใช้ตัวแทนลงคะแนนเสียงแทนเจ้าตัวนั้นก็สามารถเป็นไปได้ถ้าพลเมืองคนนั้นๆ ไม่สามารถลงคะแนนเสียงด้วยเหตุผลบางประการเช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ผู้มีสิทธิไม่ได้อาศัยอยู่ในเขตการเลือกตั้งของตนเอง ผู้มีสิทธิไปทำงานหรือท่องเที่ยวในต่างประเทศหรืออยู่ในระหว่างการจองจำ (ยังไม่ได้ตัดสินคดีความแต่ถูกตัดสิทธิในการเลือกตั้ง) ฯลฯ การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น ตัวแทนจะต้องมาจากเทศบาลเดียวกัน การแต่งตั้งหรือเลือกตัวแทนนั้น จะต้องกระทำต่อหน้าพยานซึ่งถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ผู้พิพากษา ตุลาคม เสมียนผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่จากศาลยุติธรรม หรือในกรณีนอกประเทศฝรั่งเศสจะต้องกระทำต่อหน้าเอกอัครราชทูตหรือกงสุล ส่วนกรณีผู้พิการหรือบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมหรือผู้แทนจะถูกส่งไปยังบ้านของพลเมืองนั้นๆ และเป็นพยานในการแต่งตั้งผู้แทนการเลือกตั้ง ระเบียบการดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะหลีกเลี่ยงความกดดันของผู้ออกเสียง

บางเมืองในประเทศฝรั่งเศสใช้เครื่องลงคะแนนเสียง

บางเมืองในประเทศฝรั่งเศสใช้เครื่องลงคะแนนเสียง

ขั้นตอนการลงคะแนนเสียง

โดยทั่วไปการลงคะแนนเลือกตั้งจะกระทำโดยใช้กระดาษและนับผลการเลือกตั้งด้วยมือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรลงคะแนนเสียงที่ถูกพิมพ์มาล่วงหน้าแล้ว จากโต๊ะบริเวณทางเข้าสำนักงานเลือกตั้ง (ซึ่งอาจจะได้รับผ่านทางเมล์) รวมทั้งทางจดหมาย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเข้าไปในคูหาหรือหน่วยลงบัตรเลือกตั้ง ซึ่งจะถูกปิดบังจากการมองเห็น และสอดบัตรที่จัดไว้เฉพาะไว้ในซองจดหมาย แล้วเขาผู้นั้นจะเดินไปยังหีบบัตรเลือกตั้งและแสดงบัตรลงทะเบียนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ไม่เป็นการบังคับ) และต้องแสดงเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเอง (ในเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 5000 คน จะต้องนำเอกสารระบุเอกลักษณ์ตนเองมาแสดง) หลังจากนั้น เจ้าพนักงานจะรับรองสิทธิในการลงคะแนนเสียง และหย่อนซองจดหมายลงไปในหีบบัตรเลือกตั้ง จากนั้นจะต้องเซ็นลงในรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและบัตรลงทะเบียนจะถูกประทับตรา

มีวิธีการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างไปจากนั้น แต่ไม่เป็นที่กว้างขวางในประเทศฝรั่งเศสมากนัก คือการลงคะแนนเสียงโดยใช้เครื่องลงคะแนนเสียง

การเลือกตั้งครั้งล่าสุด

-การเลือกตั้งประธานาธิบดี


ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส 22 เมษายน และ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
อันดับที่ ผู้สมัครเลือกตั้ง พรรค รอบแรก รอบสอง
คะแนนเสียง เปอร์เซนต์ คะแนนเสียง เปอร์เซนต์
1 นิโกลาส์ ซาร์โกซี พรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) 11,448,663 31.18% 18,983,138 53.06%
2 เซโกแลน รัวยาล พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (PS) 9,500,112 25.87% 16,790,440 46.94%
3 ฟรองซัวส์ ไบรู พรรคสหภาพเพื่อประชาธิปไตยฝรั่งเศส (UDF) 6,820,119 18.57%
4 ฌอง-มารี เลอ เปน พรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) 3,834,530 10.44%
5 โอลิวีเยร์ เบอซองเซอโนต์ พรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) 1,498,581 4.08%
6 ฟิลิปป์ เดอ วิลลีเยร์ พรรคขบวนการเพื่อฝรั่งเศส (MPF) 818,407 2.23%
7 มารี-จอร์จ บุฟเฟต์ พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) 707,268 1.93%
8 โดมินิก วัวเนต์ พรรคเขียว (Les Verts) 576,666 1.57%
9 อาร์แลตต์ ลากิเยร์ พรรคพลังแรงงาน (LO) 487,857 1.33%
10 โฌเซ โบเว่ ผู้สมัครอิสระ นักต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ 483,008 1.32%
11 เฟรเดอริค นีอูส์ พรรคล่าสัตว์ ตกปลา ธรรมชาติและประเพณี (CPNT) 420,645 1.15%
12 เชราร์ด ชิวาร์ดี พรรคแรงงาน (PT) 123,540 0.34%
ผลรวม 36,719,396
35,773,578
เสียงข้างมากเด็ดขาด (18,359,698)
บัตรดี 36,719,396 98.56% 35,773,578 95.80%
บัตรเสีย 534,846 1.44% 1,568,426 4.20%
จำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง 37,254,242 83.77% 37,342,004 83.97%
จำนวนผู้งดออกเสียงเลือกตั้ง 7,218,592 16.23% 7,130,729 16.03%
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,472,834 100% 44,472,733 100%

ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2550

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส 10 และ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2550

พรรคการเมือง รอบแรก รอบสอง รวมที่นั่ง
ในรัฐสภา
คะแนนเสียง เปอร์เซนต์ ที่นั่ง คะแนนเสียง เปอร์เซนต์

พรรคสหภาพเพื่อการเคลื่อนไหวของปวงชน (UMP) 10,289,028 39.54% 98 9,463,408 46.37% 313

พรรคกลางใหม่ (NC) 616,443 2.37% 7 432,921 2.12% 22

พรรคการเมืองปีกขวาอื่นๆ 641,600 2.47% 2 238,585 1.17% 9

พรรคขบวนการเพื่อฝรั่งเศส (MPF) 312,587 1.20% 1 - - 1

รวมเสียงข้างมากประธานาธิบดี (ขวา) 11,859,658 45.58%


345

พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (PS) 6,436,136 24.73% 1 8,622,529 42.25% 186

พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (PCF) 1,115,719 4.29% - 464,739 2.28% 15

พรรคการเมืองปีกซ้ายอื่นๆ 513,457 1.97% - 503,674 2.47% 15

พรรคหัวรุนแรงซ้าย (PRG) 343,580 1.31% - 333,189 1.63% 7

พรรคเขียว (Les Verts) 845,884 3.25% - 90,975 0.45% 4

รวมเสียงฝ่ายซ้าย 9,254,776 35.55%


227

พรรคขบวนการประชาธิปไตย (MoDem) 1,981,121 7.61% - 100,106 0.49% 3

ลัทธิแบ่งแยกการปกครอง 131,585 0.51% - 106,459 0.52% 1

อื่นๆ 267,987 1.03% - 33,068 0.16% 1

พรรคแนวหน้าแห่งชาติ (FN) 1,116,005 4.29% - 17,107 0.08% -

พรรคซ้ายจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (LCR) และ พรรคพลังแรงงาน (LO)) 887,887 3.41% - - - -

พรรคล่าสัตว์ ตกปลา ธรรมชาติและประเพณี (CPNT) 213,448 0.82% - - - -

นักนิเวศน์วิทยาอื่นๆ 208,465 0.80% - - - -

พรรคขวาจัดอื่นๆ (รวมทั้ง พรรคขบวนการสาธารณรัฐแห่งชาติ (MNR) 102,100 0.39% - - - -

ผลรวม 26,023,052 100% 110 21,130,346 100% 577

ดูเพิ่ม: การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส พ.ศ. 2550



ไม่มีความคิดเห็น: