วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กำเนิดไดโนเสาร์

 กำเนิดไดโนเสาร์ 

ไดโนเสาร์ได้ถือกำเนิดใน มหายุคมีโสโซอิกซึ่งแบ่งเป็น 3 ยุคใหญ่ๆ คือ

  • ยุคไตรแอสสิก (Triassic) 190-225 ล้านปี
  • ยุคจูแรสสิก (Jurassic) 135-190 ล้านปี
  • ยุคครีเตเชียส (Cretaceous) 65-135 ล้านปี
  1. ไดโนเสาร์ยุคไตรแอสสิก 190-225 ล้าน ลายมหายุคพาลีโอโซอิค ความแห้งแล้งได้เกิดขึ้นไปทั่วโลก เป็นสาเหตุให้สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่สามารถฟักได้ ความแห้งแล้งดังกล่าวทำให้สัตว์เลื้อยคลานได้ถือกำเนิดขึ้น ไดโนเสาร์จึงเกิดขึ้น ในมหายุคมีโสโซอิก (245-65 ล้านปีที่ผ่านมา) มหายุคมีโสโซอิกเริ่มต้นด้วยยุคไตรแอสสิก บนพื้นโลกยังเต็มไปด้วย ความแห้งแล้งและความร้อนไปทั่ว พืชพวกสน (จิมโนสเปอร์ม) เจริญอย่างมากมาย พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน พวกคิโนนาตัส และพวกอาศัยในทะเลพลาโคโดอุสและโนโทซอรัสก็เจริญในช่วงนี้เช่นกัน
  2. ไดโนเสาร์ยุคจูแรสสิก 135-190 ล้านปี มื่อ 208 - 245 ล้าน 6 แสนปีที่ผ่านมาเป็นยุคจูแรสสิก ไดโนเสาร์ตัวขนาดใหญ่ได้ปรากฏตัวขึ้น เป็นยุคที่โลกยังร้อนชื้นอยู่ พืชพวกสน หญ้า ซีด้า สนหางม้าเจริญอย่างมากมาย เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์ กินพืชเจริญขึ้นมามากมาย พวกกินเนื้อก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ไดโนเสาร์ที่เกิดขึ้น ถ้าแบ่งตามลักษณะของกระดูกเชิงกรานแล้วก็จะแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ พวกที่กระดูกเชิงกรานเหมือนกิ้งก่า (ซอริสเชียน) พวกที่มีกระดูกเชิงกรานเหมือนพวกนก (ออร์นิธิสเชียน) พวกซอริสเชียนจะเดินด้วย 4 เท้า ได้แก่ อะแพทโตซอรัส บราคิโอซอรัส (พวกกินพืช) เดโปโดคุส (กินทั้งพืชและสัตว์) พวกซอริสเชียนที่เดินด้วย 2 ขา ได้แก่ พวกขนาดยักษ์ เช่น อาโรซอรัส พวกขนาดเล็ก เช่น เคมโซกุนาตัส พวกออร์นิธิสเชียน เช่น สเตโกซอรัส ในยุคจูแรสสิกนั้นพวกสัตว์เลื้อยคลานมีการเจริญอย่างกว้างขวาง พวกที่อยู่ในทะเลก็มีคล้ายปลาโลมา ได้แก่ อิกธิโอซอรัส พวกที่บินอยู่บนฟ้า ได้แก่ แรมโฟรินคัส เดโมโฟดอน ในยุคจูแรสสิกนี้ บรรพบุรุษของนกก็ถือกำเนิดขึ้น
  3. ไดโนเสาร์ยุคครีเตเชียส 65-135 ล้านปยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิก สัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีการค้นพบที่จังหวัดฟุกุชิมาได้แก่ พวกไดโนเสาร์คอยาว โมซาซอรัส เป็นพวกกิ้งก่าทะเล อาเครอน เป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มี เคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมาย ยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อาร์บาโตซอรัส ไทแรนโนซอรัสปรากฎในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ ไทแรนโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อ พวกซอริสเชียน ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัส พวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืช พวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโร โฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ สเตโกซอรัส แองคีลอซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่า ก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์ บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์ หลัง จากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก
  4. ยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 65 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน ในช่วงสิ้นสุดยุคครีเตเชียส อากาศและท้องทะเลเกิดการเปลี่ยนแปลง แผ่นดินมีการเคลื่อนตัว สภาพแวดล้อมของโลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ไดโนเสาร์ได้เริ่มสูญพันธุ์พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเมราโนดอน และเดลตาเทริเชียมได้ดำเนินชีวิตอยู่ เมืองไทยก็มีไดโนเสาร์ หลายคนคงไม่ทราบมาก่อนว่า ไดโนเสาร์เคยมีชีวิตอยู่จริงในประเทศไทย เนื่องจากในสมัยตอนปลาย ของยุคจูแสสิก หรือเมื่อ 200 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันเคยอุดมสมบูรณ์ ไปด้วย หนอง บึง ทะเลทราย ต้นไม้นานาพันธุ์ ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของไดโนเสาร์ไดโนเสาร์ปรากฎกายให้ชายไทยได้รู้จักเป็นครั้งแรก เมื่อนักธรณีวิทยาท่านหนึ่งได้พบกระดูกท่อนขา ของไดโนเสาร์ชนิด คาเมราซอรัส ต่อมาก็มีการขุดค้นพบซากของโครงกระดูก ฟันของไดโนเสาร์เพิ่มมากขึ้น

 

ปัจจุบันไดโนเสาร์ที่พบในเมืองไทยที่ได้รับการยืนยันชนิดและสกุลแล้วมี 2 พันธุ์ คือ

ไซแอมโมซอรัส สุธีธรน

  • ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนิ [Siamosaurus teethorni] เป็นไดโนเสาร์เทอร์โรพอด ซึ่งพบซากฟันโดย คุณวราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญการค้นหาไดโนเสาร์ในเมืองไทย จัดว่าเป็นไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ ชื่อสกุล หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากสยาม ชื่อชนิดจากชื่อ คุณวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่นไซแอมโมซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดเล็ก ปราดเปรียวว่องไว มีฟันที่แหลมคมมีชีวิตอยู่เมื่อ 150 ล้านปี ที่แล้ว ตัวยาวประมาณ 0.45 เมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม

ซิดตาโคซอรัส สัตยารักกิ

  • ซิดตาโคซอรัส สัตยารักกิ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว พบกรามล่างขวา ฟันและกระโหลกด้านบนซ้าย เนื่องจากมีลักษณะแตกต่างไปจาก ฟอสซิลที่พบในมองโกเลีย จึงให้ชื่อเป็นชนิดใหม่ ตามชื่อของ คุณนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบที่ จ.ชัยภูมิ ซิดตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินพืช ที่มีจะงอยปากเหมือนนกแก้ว มีชีวิตอยู่เมื่อชีวิตอยู่เมื่อ 144-65 ล้านปี ที่ผ่านมา ตัวยาวประมาณ 2 เมตร มีเขาที่บริเวณแก้มไว้ป้องกันตัว เดินด้วย 2 ขา จัดว่าเป็นบรรพบุรุษของ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะทั้งหลาย

 

แหล่งค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย ซากโครงกระดูกที่พบในประเทศไทย

ส่วนใหญ่อยู่ในยุคจูแรสสิกตอนปลายและยุคครีเตเชียสตอนต้น จังหวัดที่ขุดพบซากไดโนเสาร์คือ จ.ขอนแก่น จ.นครราชสีมา จ.กาฬสินธุ์ และจ.สกลนคร พบรอยเท้าคาร์โนซอร์ ที่ภูหลวง จ. เลย พบกระดูกและฟันที่ภูเวียง พบรอยเท้าที่ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา พบกระดูกเล็ก ๆ ของ คอมพ์ซอกนาธัส 2 ชิ้น ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น พบรอยเท้าของซีลูโรซอร์ ที่ภูเวียง จ.ขอนแก่น พบรอยเท้าที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา และยังพบ กระดูกและฟันของออร์นิโธมิโมซอร์ที่ภูเวียง จ. ขอนแก่น นอกจากนี้ยังพบไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่หลายชนิดที่ จ. กาฬสินธุ์ และจ.สกลนคร ข่าวล่าสุด

  • มีรายงานพบว่าได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ขนาดใหญ่และมีความยาวมาก ที่ จ.ชัยภูมิ

 

ไม่มีความคิดเห็น: