มาเรียนสิ่งที่ง่าย(ถ้าเรียนแล้วเข้าใจนะ)
verbes pronominaux
Les verbes pronominaux คือคำกริยาที่ต้องใช้ประกอบกับสรรพนาม (pronom personnel) บุรุษเดียวกันกับ
สรรพนามที่เป็นประธาน
présent |
Je me lève Tu te lèves Il/Elle/On se lève Nous nous levons Vous vous levez Ils/Elles se lèvent |
ในประโยคอดีตกาล (temps composés) เช่น passé composé และ plus-que-parfait เราใช้กริยาช่วย "être"
passé composé | plus-que-parfait | |
Je me suis levé(e) | Je m' étais levé(e) Tu t' étais levé(e) Il s' était levé Elle s' était levée Nous nous étions levé(s)(es) Vous vous étiez levé(e)(s)(es) Ils s' étaient levés Elles s' étaient levées |
participe passé ต้องทำ accord กับประธานด้วย ยกเว้น ...
1. เมื่อมีคำนามที่เป็นกรรมตรงตามมา
- Elle s' est lavée. (accord) (หล่อนอาบนํ้า)
- Elle s' est lavé les cheveux.(ไม่ accord) (หล่อนสระผม)
2. เมื่อสรรพนามในประโยคเป็นกรรมรอง
- Elles se sont téléphoné. (téléphoner à) (พวกหล่อนโทรศัพท์ถึงกัน)
สังเกต ตำแหน่งของสรรพนามในประโยคคำสั่ง : [ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังกริยา และ "te" => "toi"]
คำสั่งบอกเล่า(affirmatif) | คำสั่งปฎิเสธ(négatif) | |
Lève-toi Levez-vous Levons-nous | Ne te lève pas Ne vous levez pas Ne nous levons pas |
เมื่อกริยา pronominal อยู่ในรูป infinitif สรรพนามที่ใช้ต้องเป็นบุรุษเดียวกันกับประธานของกริยาตัวแรก
- J' aime me promener.
- Tu vas t' amuser avec tes copains ?
- Vous pouvez vous reposer maintenant.
ในประโยคปฎิเสธ ส่วนประกอบในการปฎิเสธส่วนแรก "ne" จะอยู่หน้าสรรพนามและกริยา
ตามด้วยส่วนประกอบในการปฎิเสธส่วนที่สอง
- Ils ne se connaissent pas ! [คลิ๊กที่นี่...เพื่อดูเพิ่มเติมเรื่องตำแหน่งของคำสรรพนาม]
ความหมายและการใช้ :
1. ใช้ในความหมายที่ประธานกระทำกริยาเพื่อหรือต่อตัวประธานเอง (réfléchi)
- Je lave la voiture. (ฉันล้างรถ)
- Je me lave. (ฉันอาบนํ้า)
- Elle regarde les gens qui passent. (หล่อนมองดูผู้คนที่ผ่านไปมา)
- Elle se regarde dans la glace. (หล่อนมองดูตัวเองในกระจก)
2. ใช้ในความหมายที่ประธานทั้งสองหรือมากกว่ากระทำกริยาต่อกันและกัน (réciproque) รูปทีใช้จึงต้องเป็นรูปพหูพจน์เสมอ
- Nous nous connaissons depuis longtemps. (เรารู้จักกันมานานแล้ว)
- Jean-Pierre et Odette s' aiment beaucoup. (ชอง-ปิแอร์กับโอแดตรักกันมาก)
3. มีคำกริยาจำนวนหนึ่งที่มีรูปเป็น pronominal เสมอโดยไม่ได้มีความหมายทั้ง"สะท้อนเข้าสู่ประธานเอง" หรือ
"ซึ่งกันและกัน" คำกริยาเหล่านี้ได้แก่ : s' en aller, se souvenir, s' occuper, s' évanouir, se méfier ...
- Bon, je dois m' en aller ! (ฉันต้องไปแล้ว !)
- Elle s' occupe bien du ménage. (หล่อนดูแลงานบ้านดี)
- Je me souviens encore de mon enfance. (ฉันยังคงจำวัยเด็กของฉันได้)
4. บางครั้งโดยเฉพาะกับคำนามที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เรานิยมใช้ในความหมายใกล้เคียงกับรูป "passif"
- Ces livres se vendent très bien. (หนังสือเหล่านี้ขายดีมาก)
- Comment ça s' écrit votre nom ? (นามสกุลของคุณเขียนอย่างไร)
- Ces gestes, ça ne se fait pas chez nous ! (อากัปกริยาเช่นนี้ทีบ้านเราเขาไม่ทำกัน)
- Ça ne se dit pas en public. (สิ่งนี้เขาไม่พูดกันในที่สาธารณะ)
คำกริยาบางคำเปลี่ยนความหมายไปเมื่ออยู่ในรูป pronominal :
- Trouver : Comment est-ce que tu trouves ma nouvelle voiture ? (เธอเห็นรถคันใหม่ของฉันเป็นอย่างไรบ้าง)
- Se trouver : Où se trouve l' école Rachiniebourana ? (โรงเรียนราชินีบูรณะตั้งอยู่ที่ไหน)
- Passer : Nous avons passé un moment agréable ensemble. (เราใช้เวลาอย่างมีความสุขด้วยกัน)
- Se passer : Qu' est-ce qui se passe ? (เกิดอะไรขึ้น!)
- Apercevoir : J' ai aperçu ton frère devant le cinéma hier. (ฉันเห็นพี่ชายเธอไวๆที่หน้าโรงภาพยนตร์เมื่อวานนี้)
- S' apercevoir : Je me suis aperçu de mon erreur ! (ฉันตระหนักถึงข้อผิดพลาดของฉัน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น