เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้
1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย
1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %
2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %
3) GAT 10-50 %
4) PAT 0-40 %
รวม 100 %
หมายเหตุ
1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้
2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป
3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ
2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT
1. เนื้อหา
- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%
- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%
2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง
- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบปีละหลายครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)
3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT
1. PAT มี 6 ชุด คือ
PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์
เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills
PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์
เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability
PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ
PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์
เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ
PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์
เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ
ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ
"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง
2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย
- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง
- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก
- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ
3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด
ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553
“สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ 5 ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่” ผอ.สทศ. กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์ , สยามรัฐ
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น